การปลูกขนุน การดูแลรักษา และการป้องกันกำจัดโรคขนุน

ขนุน

ขนุนเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ ปลูกง่าย สามารถเติบโตได้ดีและเร็ว ผลมีขนาดใหญ่ รูปกลมหรือกลมยาว เปลือกมีหนามแหลมสั้นรอบผล เนื้อขนุนเป็นที่นิยม รับประทานกันทั่วไป เนื้อมีลักษณะเป็นยวงมีเมล็ดอยู่ข้างใน มีทั้งเนื้อชนิดหนา เนื้อบาง เนื้อแห้งกรอบ และเนื้อเละ สีของเนื้อแตกต่างกันไปแล้วแต่สายพันธุ์ แม้ว่าขนุนจะไม่ใช่ไม้ผลที่มีกำเนิดในประเทศไทย แต่ก็นำมาปลูกกันนานจนกลายเป็นพันธุ์ไม้ผลพื้นเมืองของไทยไปแล้ว สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกขนุนนั้นต้องคำนึงถึงความสมดุลหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของดิน

ชนิดของดินที่ขนุนเติบโตได้ดี

ขนุนเป็นไม้ผลที่ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินทราย ดินเหนียว ดินลูกรัง ปกติขนุนชอบดินร่วน หรือดินร่วนปนทรายที่ต้องระบายน้ำดี ส่วนดินเหนียวหรือดินทรายต้องมีการปรับปรุงด้วยการใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก มากๆ จะช่วยให้ขนุนเจริญเติบโตได้ดีขึ้น

ความสมบูรณ์ของดินปลูกขนุน ขนุนชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีอินทรียวัตถุมาก ซึ่งทำให้ดินมีสีดำ ขนุนจะเจริญเติบโตได้เร็ว ให้ผลดก ผลใหญ่ เนื้อยวงมีสีเข้ม และมีรสหวานกว่าขนุนที่ปลูกในดินที่มีสภาพความสมบูรณ์ต่ำ อาจสังเกตว่าพืชที่ขึ้นปกคลุมอยู่นั้น ถ้ามีการเจริญเติบโตดี ใบมีสีเขียวเข้ม แสดงว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง

ความเป็นกรด ด่างของดินปลูกขนุน

ขนุนขึ้นได้ในดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง 6-7.5 ถ้าดินมีค่าความเป็นกรด-ด่างต่ำกว่า 6.0 ดินจะเป็นกรด ซึ่งจะเกิดการตรึงจุลธาตุและฟอสเฟต ต้องปรับแก้โดยการใช้ปูนเพื่อการเกษตร นิยมใช้ปูนโดโลไมต์ ปูนมาร์ล การปรับแก้ความเป็นกรดของดินต้องใช้หลักการใส่ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง เพื่อให้เกิดการปรับตัวขึ้นทีละน้อยๆ ช่วงความเป็นกรด-ด่าง ระดับ 6.0-7.5 ช่วงนี้ทำให้ขนุนสามารถใช้ปุ๋ยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขนุนจะตอบสนองต่อปุ๋ยอย่างเต็มที่

ขนุนที่นิยมปลูกกันทั่วไปในประเทศไทย

มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ ขนุนหนัง และขนุนละมุด ส่วนใหญ่การขยายพันธุ์ของขนุนเพื่อนำไปปลูกนั้นมีหลายวิธี ตั้งแต่ การใช้เมล็ดปลูก เป็นวิธีดั้งเดิมที่ปลูกกันมานาน สามารถขยายพันธุ์ได้ครั้งละมาก ๆ ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะสูงใหญ่ มีอายุยืน มีรากแก้วที่หยั่งลึกไม่โค่นล้ม ง่าย แต่ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดอาจกลายไปจากพันธุ์เดิม ชี่งอาจจะมีลักษณะที่ ดีกว่าพันธุ์เดิมหรือเลวกว่าพันธุเดิมก็ได้ ข้อเสียเปรียบอีกประการหนึ่งของต้นที่ได้ จากการเพาะเมล็ดคือ จะให้ผลช้ากว่าต้นที่ปลูกด้วยกิ่งตอนหรือกิ่งทาบ

การเตรียมเมล็ด

เมล็ดที่จะนำมาเพาะให้เลือกจากต้นที่เติบโต แข็งแรง ผลสวย เนื้อดี ไม่มีโรคแมลงต่าง ๆ รบกวน และเป็นผลที่แก่เต็มที่หรือสุกแล้ว เมื่อเอา เนื้อออกแล้วให้ล้างเมล็ดด้วยน้ำจนสะอาด และนำไปเพาะทันทีอย่าเก็บเมล็ดไว้ นานเกิน 15 วัน เพราะจะเพาะไม่งอกหรืองอกน้อย ต้นที่งอกจะไม่ค่อยแข็งแรง

การเตรียมที่เพาะ หากว่าเป็นการเพาะจำนวนไม่มากนัก อาจจะเพาะในภาชนะ ต่าง ๆ เช่น กระถาง กระป๋อง และที่นิยมมากคือ ถุงพลาสติก ซึ่งสะดวกในการ เคลื่อนย้าย หรือการนำไปทาบกิ่ง ภาชนะที่จะใช้เพาะเมล็ด จะต้องมีรูระบายน้ำไม่ไห้ น้ำขังแฉะภายใน วัสดุเพาะให้ใช้ดินที่ร่วนซุย ดินที่ผสมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก มาก ๆ ขนาดของภาชนะต้องใหญ่พอสมควร เพราะจะต้องเพาะเมล็ดอยู่นานกว่าจะ นำไปปลูกหรือนำไปทาบกิ่งได้ การเพาะเมล็ดจำนวนมาก ๆ ควรเพาะในกะบะเพาะ หรือในแปลงเพาะ ซึ่งทำได้ดังนี้คือ ซึ่งการเพาะในกะบะ กะบะเพาะอาจทำด้วยไม้ หรือใช้ลังไม้ที่มีอยู่แล้ว หรือเป็นกะบะพลาสติกก็ได้แล้วแต่ความต้องการ แต่ควรมีความลึกไม่น้อยกว่า 8 นิ้ว วางกะบะเพาะไว้ในที่ร่มรำไร อย่าให้โดนแดดจัด เจาะรูที่ก้นกะบะหรือตีไม้ให้ ห่างเพื่อให้ระบายน้ำได้ รองก้นกะบะด้วยอิฐหักแล้วปูทับด้วยฟางหรือหญ้าแห้งเพื่อ ให้การระบายน้ำดี แล้วจึงใส่วัสดุเพาะลงไปในกะบะจนเกือบเต็ม วัสดุเพาะที่ใช้ได้ดี คือ ขี้เถ้าแกลบ หรือทรายหยาบผสมขี้เถ้าแกลบ เพราะเวลาย้ายต้นกล้าจะทำได้ ง่าย และยังมีลักษณะโปร่ง การระบายน้ำและอากาศดี ทำให้เมล็ดงอกได้ดีและสม่ำ เสมอ นอกจากนี้อาจใช้ดินที่ร่วนซุย โดยผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมาก ๆ ก็ได้

การเพาะในเปลง แปลงเพาะควรเป็นแปลงดินอยู่ในที่ร่มรำไร หรือมีการ พรางแสงไม่ให้โดนแดดจัด โดยขุดแปลงเพาะเป็นร่องขนาดกว้าง 1 – 1.5 เมตร ความยาวแล้วแต่ต้องการ ควรยกแปลงให้สูงจากพื้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ปรับปรุงดินในแปลงเพาะให้ร่วนซุย และระบายน้ำได้ดีโดยการผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

วิธีเพาะเมล็ด

เมล็ดที่ล้างสะอาดดีแล้วก่อนจะนำลงเพาะควรแช่เมล็ด ในน้ำยากำจัดเชื้อราประมาณ 10-20 นาที ป้องกันเชื้อราที่อาจติตมากับเมล็ด การเพาะในแปลงและในกะบะเพาะ ให้เพาะเป็นแถว ๆ ห่างกันประมาณ 5 นิ้ว ฝังเมล็ดลึกประมาณ 5 เชนติเมตร กลบดินแล้วรดน้ำให้ชุ่ม การเพาะในภาชนะ ให้หยอดเมล็ด 2 เมล็ดต่อภาชนะแต่ละใบ เพื้อจะ ได้เลือกต้นที่แข็งแรงไว้เพียงต้นเดียว หลังจากเพาะเมล็ดแล้ว ให้รดน้ำทุกวันเช้า เย็น อย่าให้ดินแห้ง หรือแฉะเกินไป

การย้ายกล้า

ต้นกล้าที่ปลูกในแปลงเพาะหรือในกะบะเพาะนั้น เมื่อ ต้นกล้าสูงประมาณ 5-6 นิ้ว ให้ขุดแยกใส่ภาชนะเพื่อนำไปเลี้ยงสำหรับนำไปทาบ กิ่ง ส่วนต้นที่ต้องการนำไปปลูกในแปลงจริงให้ขุดแยกออกไปปลูกในภาชนะ หรือนำไปปลูกในแปลงชำ อย่าปล่อยให้ต้นกล้าอยู่ในแปลงเพาะหรือกะบะเพาะนาน เกินไป เพราะต้นจะเบียดกันมาก เวลาขุดจะกระทบกระเทือนมาก โดยเฉพาะกะบะเพาะ ที่ใช้ขี้เถ้าแกลบ จะไม่มีอาหารเพียงพอจะเลี้ยงต้นกล้าต้องรีบขุดย้าย

การเตรียมแปลงชำ

ทำเช่นเดียวกับแปลงเพาะกล้า คือยกเป็นร่องแล้ว ปรับปรุงดินให้ร่วนชุย แล้วนำต้นกล้ามาปลูกเป็นแถว ๆ ห่างก้นประมาณ 10- 12 นิ้ว เพื่อสะดวกในการขุดย้ายจะเลี้ยงต้นกล้าในแปลงชำประมาณ 5-6 เดือน จีงจะย้ายไปปลูกในสวน การขุดย้ายต้องระมัดระวังอย่าให้รากขาดมาก เมื่อปลูกจะ ได้ตั้งตัวเร็ว การปลูกโดยการย้ายต้นกล้า ควรทำในฤดูฝน จะช่วยให้ต้นตั้งตัวได้เร็ว และไม่ต้องคอยรดน้ำบ่อย ๆ

การตอนกิ่งขนุน สำหรับนำไปปลูก

เป็นการขยายพันธุ์ขนุนโดยการตอนในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมทำกันนัก เพราะต้นขนุนสูงใหญ่ กิ่งที่จะตอนจะอยู่สูงทำให้ตอนลำบาก กิ่งตอนที่ได้ไม่มีรากแก้ว ทำให้โค่นล้มง่าย การตอนถ้าทำไม่ถูกวิธีก็จะตอนไม่ค่อยได้ผล และที่สำคัญคือมี วิธีการขยายพันธุ์ที่ให้ผลดีกว่าการตอน

การทาบกิ่งขนุน

เป็นการขยายพันธุ์ขนุนที่เป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุด เพราะต้นที่ได้จะมี ลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมและมีรากแก้วด้วย ต้นใหม่จะตกผลเร็วเช่นเดียวกับต้นพันธุ์ที่ได้จากการตอนกิ่ง วิธีการทาบกิ่งก็ทำได้ง่าย หากแต่เสียเวลาในการเพาะเมล็ดเพื่อใช้ เป็นต้นตออยู่บ้าง โดยการเตรียมต้นตอ ต้นตอที่จะนำมาทาบกิ่ง คือต้นกล้าขนุนที่ได้จาก การเพาะเมล็ดในภาชนะต่าง ๆ เช่น กระถาง หม้อดิน และที่นิยมกันมากคือการเพาะ ในถุงพลาสติก เพราะมีน้ำหนักเบา สะดวกในการนำไปทาบ ส่วนพวกกระถางหรือ หม้อดินจะมีน้ำหนักมาก เวลาทาบกิ่งต้องทำนั่งร้านขึ้นไปรองรับ ทำให้ยุ่งยาก ไม่สะดวกในการทำงาน

การเลือกกิ่งพันธุ์สำหรับทาบกิ่ง

กิ่งของต้นพันธุ์ดีที่ต้องการจะทาบนั้น ให้เลือกกิ่ง ที่มีขนาดไล่เลี่ยกับขนาดของต้นตอ หรือใหญ่กว่าเล็กน้อย เป็นกิ่งที่กำลังเติบโตแข็ง แรง กิ่งกลมไม่เป็นเหลี่ยม กิ่งไม่อ่อนไม่แก่เกินไป ไม่มีโรคแมลงรบกวน ที่สำคัญ คือ ต้องเป็นต้นที่ให้ผลแล้ว และผลมีคุณภาพดีตามที่ต้องการ หรืออาจเป็นต้นที่ยัง ไม่ตกผล แต่แน่ใจว่าเป็นต้นที่ดีตามที่ต้องการจริงๆ

ฤดูกาลหากคิดที่จะทำการทาบกิ่งเพื่อนำไปขยายพันธุ์ขนุน การทาบกิ่งจะทำช่วงไหนก็ได้ แต่ช่วงที่เหมาะที่สุดคือ กลางฤดูฝน จนถึงปลายฤดูฝน เพราะเป็นช่วงที่ต้นไม้กำลังเจริญเติบโต จะทำให้กิ่ง ติดกันเร็ว ช่วงที่ฝนตกชุก อาจทำให้กิ่งทาบเน่าเสียได้ง่าย

วิธีปลูกขนุน และสภาพแวดล้อมในการปลูกให้ติดลูกดก

การปลูกไม่ว่าจะปลูกด้วยกิ่งตอน กิ่งทาบ หรือต้นที่เพาะเมล็ดก็ตาม ให้ทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้รากขาดมากต้นจะชะงักการเจริญเติบโต ต้นขนุนที่ปลูกไว้ในภาชนะนานๆ ดินในภาชนะจะจับตัวแข็งและรากจะพันกันไปมา เวลาปลูกเมื่อเอาออกจากกระถางแล้วให้เอามือบิดินก้นภาชนะ ให้แยกออกจาก กันเล็กน้อยและค่อยๆ คลี่รากที่ม้วนไปมาให้แยกจากกัน เพื่ออจะได้เติบโตต่อไปอย่างรวดเร็ว

การปลูกขนุนด้วยกิ่งทาบ

อย่ากลบดินจนมิดรอยต่อของกิ่ง ให้ปลูกในระดับเดียวกับดินในกระถางเดิมหรือสูงกว่าเดิมเพียงเล็กน้อยแต่ไม่มิดรอยต่อ เพื่อจะได้มองเห็นว่ากิ่งที่แตกออกมานั้นเป็นกิ่งของต้นตอหรือของกิ่งพันธุ์ ถ้าแตกออกมาจากต้นตอให้ตัดทิ้งไปเพราะเป็นกิ่งที่ไม่ต้องการ

การปลูกขนุนด้วยกิ่งตอน

ให้กลบดินให้เสมอดินเดิมในภาชนะ หรือให้ เหลือจุกมะพร้าวที่ใช้ในการตอนโผล่อยู่ อย่ากลบดินจนมิดจุกมะพร้าวเพราะทำให้ ต้นเน่าได้ง่าย

เมื่อปลูกเสร็จให้หาไม้มาปักเป็นหลักผูกต้นกันลมโยกแล้วรดน้ำทันทีให้โชก ควรใช้ทางมะพรัาวช่วยคลุมแดดให้บ้างในระยะแรก เพราะถ้าโดนแดดจัดต้นอาจจะเฉาชะงักการเจริญเติบโตได้ หลังจากปลูกแล้วให้คอยดูแลรดน้ำอยู่เสมอ ถ้าฝนไม่ตกการใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมบริเวณโคนต้นจะช่วยรักษาความชื้นของดินได้ดี

การปลูกพืชแซม

การปลูกขนุนด้วยกิ่งตอนและกิ่งทาบจะใช้เวลา ประมาณ 3-4 ปีกว่าจะให้ผล และการปลูกด้วยเมล็ดใช้เวลาประมาณ 4-6 ปี ในระหว่างที่ต้นขนุนยังเล็กอยู่นี้ ควรปลูกพืชอย่างอื่นที่มีอายุสั้นๆ เป็นการหารายได้ไปพลางก่อน ไม่ควรปล่อยที่ดินให้ว่างเปล่า นอกจากจะไม่ได้ประโยชน์อะไรแล้ว ยังต้องคอยดายหญ้าอยู่เสมออีกด้วย วิธีหนึ่งที่นิยมทำกันมากคือ ก่อนจะปลูกขนุนควรปลูกกล้วยเสียก่อน เมื่อกล้วยโตพอสมควรจึงปลูกขนุนตามลงไป ซึ่งกล้วยจะช่วยเป็นร่มเงาให้ขนุนไม่โดนแดดมากเกินไป และทำให้สวนชุ่มชื้นอยู่เสมอ ต้นขนุนจะโตเร็วจนเห็นว่าต้นขนุนโตพอสมควร ก็ทยอยขุดกล้วยออก การปลูกกล้วยก่อนนี้เป็นวิธีที่นิยมในการปลูกไม้ผลทั่วไป แต่มีข้อเสียตอนขุดรื้อ ต้นกล้วยออก เพราะต้องใช้แรงงานมากเช่นกัน

การดูแลรักษาหลังปลูกขนุน

การให้น้ำ สัปดาห์แรกหลังจากปลูก ถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำให้ทุกวัน หลังจากนั้นถ้าฝนไม่ตกควรรดน้ำ 3-4 วันต่อครั้ง และตลอดฤดูแล้ง ถ้าเห็นว่าดินแห้งเกินไปต้องรดน้ำช่วยจนกว่าต้นขนุนมีอายุ 1 ปีขึ้นไป จีงจะปลอดภัยการให้น้ำอาจ ห่างออกไปบ้างก็ได้ การปลูกโดยทั่วไปมักให้น้ำเพียง 1-2 ครั้งแล้วปล่อยตามธรรมธาติ ก็สามารถเจริญเติบโตให้ดอกให้ผลได้เช่นกัน เพราะโดยปกติขนุนเป็นพืชที่ทนแล้งอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามการปลูกเพือให้ได้ผลอย่างเต็มที่นั้นควรให้น้ำอยู่อย่างสม่ำเสมอ ในฤดูแล้งหรือช่วงที่ขาดฝนนาน ๆ ควรให้น้ำช่วยบ้าง จะทำให้ต้นเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ไม่ชะงักการเจริญเติบโต เมื่อขนุนโตขนาดให้ผลแล้ว ในระยะที่ขนุนตกดอกให้งดน้ำชั่วระยะหนึ่ง เมื่อดอกบานและติดผลแล้ว จึงให้น้ำให้มากเพื่อบำรุงผลให้เติบโตและมีคุณภาพดี หลังจากที่ติดผลแล้ว ถ้าขาดน้ำผลจะมีขนาดเล็ก การเติบโตของผลไม่สม่ำเสมอ ผลอาจแป้ว เบี้ยว และเนื้อบาง การให้น้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง

การปราบวัชพืช

การกำจัดวัชพืชต้องกระทำอยู่เสมอ เพราะวัชพืชต่าง ๆ จะคอยแย่งอาหารจากต้นขนุน และการปล่อยให้สวนรกรุงรังจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและแมลงต่างๆ ที่จะทำลายขนุนอีกด้วย การปราบวัชพืชทำได้โดยการถางหรือใช้ ยาปราบวัชพืช หรือโดยการปลูกพืชคลุมดินเป็นวิธีที่ควรปฎิบัติอย่างหนึ่ง เพราะพืชคลุมดินนอกจากจะป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นแล้ว ยังช่วยรักษาความชุ่มชื้นของดิน ทำให้ดินไม่แห้งเร็ว ไม่ต้องให้น้ำบ่อย ๆ ช่วยให้ดินร่วนชุย และใบที่ร่วงหล่นจะผุพังเป็นประโยชน์ต่อไป นอกจากนี้พืชคลุมดินยังช่วยป้องกันการชะล้างของดินอันเนื่องจากฝนตก โดยเฉพาะการปลูกตามที่ลาดเอียง พืชคลุมดินที่ควรใช้ปลูกคือพวกถั่วต่าง ๆ เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วผี ถั่วเหล่านี้จะมีเถาอาจเลื้อยพันขี้นไปบนต้นขนุน ต้องหมั่นดูแลและคอยตัดออกโดยเฉพาะบริเวณเรือนพุ่มต้องคอยตัดคอยถาง อย่าให้พืชคลุมดินขึ้นบริเวณโคนต้น พืชคลุมดินนี้เมื่อปลูกไปนานๆ ก็ไถกลบดินเสียครั้งหนึ่งแล้วปลูกใหม่จะช่วยให้ดินดียิ่งขึ้น การปราบวัชพืชนี้ถ้าไม่ปลูกพืช คลุมดินก็ควรปลูกพืชแซมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

การให้ปุ๋ยขนุน

ขนุนเป็นพืชที่ไม่เลือกดินปลูกนัก สามารถปลูกได้ในดินทั่วไป แต่ถ้าดิน นั้นอุดมสมบูรณ์มีธาตุอาหารเพียงพอ ต้นขนุนจะเจริญได้ดี ให้ผลดกและผลมี คุณภาพดี การปรับปรุงดินให้ร่วนซุยและการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินจึงเป็นสิ่งควรปฎิบัติ ปุ๋ยที่ใช้แบ่งเป็นสองพวกคือ ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งได้แก่ มูลสัตว์ต่าง ๆ ใบไม้ใบหญ้าที่ ผุพัง และอื่น ๆ รวมทั้งปุ๋ยพืชสดที่ได้จากการปลูกพืชพวกถั่วแล้วไถกลบลงไปใน ดิน ปุ๋ยพวกนี้แม้จะไม่มีธาตุอาหารที่พืชต้องการมากนักแต่ก็มีประโยธน์ต่อพืชที่ปลูก หลายอย่างดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นปุ๋ยที่ให้ประโยชน์แก่พืชอย่างรวดเร็วและมีธาตุ อาหารในปริมาณมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ในดินที่ค่อนข้างขาดธาตุอาหาร จึงควรให้ปุ๋ย วิทยาศาสตร์แก่ต้นขนุนบ้างจะทำให้การเจริญเติบโตดี ให้ผลดก และคุณภาพของ ผลดี การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาอยู่บ้าง การใช้อาจใช้ตั้งแต่ระยะ ที่ต้นยังเล็กอยู่เป็นการเร่งการเจริญเติบโตในระยะแรก โดยใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมชัลเฟต 2-4 ช้อนแกงผสมน้ำ 1 ปี๊บรดที่ต้นเดือนละ 2 ครั้ง จะช่วยให้ต้นโตเร็ว เมื่อนำ ต้นปลูกลงแปลงในสวน ควรใช้ปุ๋ยฟอสเฟต หรือกระดูกป่นใส่รองก้นหลุมจะช่วยให้ ต้นเจริญเติบโตได้ดี เมื่อต้นโตจนให้ผลแล้ว ควรทำรางดินรอบ ๆ เป็นวงกลมในรัศมี ของกิ่งที่แผ่รอบต้นแล้วใส่พวกปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในรางดินและเติมปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ลงไปด้วย จะได้ผลดียิ่งขี้น ปุ๋ยที่ใช้อาจใช้สูตร 15-15-15 หรือ 16- l6-16 เป็นหลัก

เนื่องจากขนุนเป็นไม้ผลที่มีขนาดใหญ่ รากสามารถหยั่งลงดินได้ลึก และหาอาหารได้ไกล ดังนั้นการปรับปรุงดินในแปลงปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์ จะทำให้ดินดี มีความร่วนซุยอยู่เสมอ ซึ่งเป็นการเพียงพอสำหรับการปลูกขนุน นอกจากที่ ๆ ดินขาดธาตุอาหารมาก ๆ จึงควรปรับปรุงด้วยการเพิ่มปุ๋ยวิทยาศาสตร์ด้วย

อ้างอิงจาก sites.google.com/site/gardenjackf/kar-pluk-khnun

ฉีดพ่น ไอเอส เมื่อพบโรคขนุนต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้ ราสนิม แอนแทรคโนส ราดำ โรคใบจุดสนิม โรคใบจุดสาหร่าย

FK-1 ใช้ฉีดพ่นขนุนเพื่อ เสริมสร้างการเจริญเติบโต เสริมการสังเคราห์คลอโรฟิลล์ แตกยอดไว กิ่งใบสมบูรณ์ แข็งแรง

FK-3 ใช้ฉีดพ่นเพื่อ ขยายขนาดผล ทำให้ขนุนผลโต น้ำหนักดี

การสั่งซื้อ

โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset ←คลิกเลย
หรือทักแชทที่เพจ ฟาร์มเกษตร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *