น้ำยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เร่งราก ป้องกันโรค ตรา กู๊ดโซค

฿430

โทรสั่งซื้อก็ได้ 089-459-9003 หรือแอดไลน์ไอดี PrimPB แล้วสั่งก็ได้ ชำระเงินปลายทางขณะรับสินค้าได้เหมือนกัน

เพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอก เร่งการแตกราก ป้องกันโรค เพิ่มการสะสมอาหารในท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เพิ่มการสะสมอาหารในท่อนพันธุ์ กระตุ้นและส่งเสริมการแตกราก เพิ่มปอร์เซ็นต์การงอก เพิ่มขนาด เพิ่มจำนวนของราก ป้องกันโรคที่ติดมากับท่อนพันธุ์

090-592-8614

รายละเอียดเพิ่มเติม

กู๊ดโซค
น้ำยาแช่นท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง

ขนาดบรรจุ
500 ซีซี

ใช้สำหรับ
แช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ก่อนปลูก

ใช้เพื่อ
เพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอก เพิ่มการสะสมอาหารในท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง

คุณสมบัติ
– เพิ่มการสะสมอาหารในท่อนพันธุ์
– กระตุ้นและส่งเสริมการแตกราก
– เพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอก เพิ่มขนาด เพิ่มจำนวนของราก
– ป้องกันโรคที่ติดมากับท่อนพันธุ์

วิธีการใช้
– ผสมกู๊ดโซ็คน้ำยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ในอัตตราส่วน 500 ซีซี ต่อน้ำ 250 ลิตร
– แช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังเป็นเวลา 5-10 นาที และจากนั้นนำไปปลูก

กู๊ดโซ็คเปลี่ยนขวดเป็นแบบใหม่นะคะ

Good Soak

Online distributed by FarmKaset.ORG 089-4599003 ( 6689-4599003 ): Ionique Co. Ltd. with its continual commitment to product excellence has developed yet another special product GOOD SOAK. Good Soak is a special minerals based solution which is specifically for soaking stem cuttings to enhance its successful germination and the healthy growth of the plant. It also eradicates fungi and promotes budding, branching, leaf growth and improves plant productivity yield.

– Increasees the stem cutting vitality and energy.
– Stimulates & enhances root germination
– Vastly improves the percentage of successful germination
– Protects stem cuttings from plant diseases.

Direction for use

Type of plant

cassava, sugarcane, potato, sweet potato, physic nut, mulberry, pineapple and other plant, using stem cutting for plant Ratio

Good Soak 500 cc per 250 litres of water Recommendations

Soaks the stem cutting in the solution 5-10 minutes and parchs until dry before plant New technology from our 3 joint ventures [Australia, Malaysia, Philippines] and Thai government

การจัดการดินและระบบการปลูกมันสำปะหลัง 

สภาพและปัจจัยที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกมันสำปะหลัง โดยมันสำปะหลัง ปลูกได้ในดินทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนปนทรายเพราะจะลงหัวและเก็บเกี่ยว ง่าย เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินที่ไม่มีน้ำท่วมขัง มีค่าเป็นกรดเป็น ด่าง (pH) ระหว่าง 5.5-8.0 ทนต่อสภาพความเป็นกรดสูงได้แม้ pH ของดินจะต่ำ จนถึง 4.5 ก็ไม่ทำให้ผลผลิตลด แต่ไม่ทนต่อสภาพพื้นที่เป็นด่าง โดยไม่สามารถ ขึ้นได้ถ้า pH สูงถึง 8 ถ้าเป็นดินทรายสามารถปลูกได้ตลอดปี อย่างไรก็ตามควรปรับค่า PH ของดินแต่เกษตรกรมัก นิยมปลูกปลายฤดูฝน เช่น แถบจังหวัดระยอง และชลบุรี ถ้าเป็นดินเหนียวจะนิยม ปลูกต้นฤดูฝน เพราะถ้าเป็นฤดูแล้งการไถพรวนจะได้ดินก้อนใหญ่ ท่อนพันธุ์มัน สำปะหลังจะแห้งตายก่อนที่จะงอก มันสำปะหลังเป็นพืชวันสั้น ผลผลิตจะลดลงถ้า ช่วงแสงของวันยาวเกิน 10-12 ชั่วโมง ขึ้นได้ดีในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิ 10-30 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝน 500-2,500 มิลลิเมตรต่อปี

ความต้องการธาตุอาหารของมันสำปะหลัง มันสำปะหลังมีความต้องการธาตุ อาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม โดยในแต่ละฤดูการผลิตมัน สำปะหลังจะต้องการธาตุไนโตรเจน 10-20 กิโลกรัมต่อ ไร่ ฟอสฟอรัส 6-10 กิโลกรัมต่อไร่ และต้องการโพแทสเซียม 8-12 กิโลกรัมต่อ ไร่ ตัวอย่าง ปุ๋ยที่ให้ไนโตรเจนเหมาะสม และปุ๋ยที่ให้โพแทสเซียมเหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณธาตุอาหารในดินก่อนปลูก มันสำปะหลังจะตอบสนอง ต่อปริมาณธาตุไนโตรเจนที่ได้รับมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความสามารถในการ อุ้มน้ำของดินและปริมาณฝนที่ตกกระจายอย่างสม่ำเสมอ แต่เมื่อได้รับธาตุ ไนโตรเจนมากเกินไป จะทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันลดลง ส่วนธาตุฟอสฟอรัส นั้นถึงแม้จะมีปริมาณความต้องการน้อยกว่าธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียม แต่ก็มี บทบาทเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและปริมาณผลผลิตที่สำคัญอย่างยิ่ง ธาตุ ฟอสฟอรัสจะมีประโยชน์ต่อมันสำปะหลังมากที่สุดที่ระดับ pH ของดินเป็นกลางใน ระหว่าง 6-7 สำหรับธาตุโพแทสเซียมนั้นมีความสำคัญต่อการเคลื่อนย้ายคาร์โบ ไฮเดรทจากส่วนใบและต้นไปยังราก เพิ่มปริมาณแป้งในหัวมัน และลดปริมาณไฮโดรไซ ยานิคในหัวมัน การขาดโพแทสเซียมจะทำให้ผลผลิตหัวมันลดลงอย่างชัดเจน ใบแก่จะ ร่วงหล่นเร็วกว่าปกติ ใบเล็กแคบ และลำต้นแคระแกร็น

3.1 การเตรียมพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง

3.1.1 การเลือกพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง

ควรเลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกัน ห่างจากถนนหลวงและมีความอุดม สมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติค่อนข้างสูง ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการ เจริญเติบโตของมันสำปะหลังอย่างเพียงพอ มีแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก ไม่ควร เป็นพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีในปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือมีการปน เปื้อนของสารเคมีสูง และห่างจากพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีการเกษตร พื้นที่ ที่จะใช้ในการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ต้องมีการวิเคราะห์สมบัติของดินและ น้ำ เพื่อตรวจสอบหาสารพิษตกค้าง และทำประวัติการทำการเกษตรของพื้นที่

3.1.2 การวางผังแปลงปลูกมันสำปะหลัง

การทำไร่มันสำปะหลังอินทรีย์นั้นจะต้องมีการวางผังแปลงอย่างดี มีการ จัดแบ่งพื้นที่ ระหว่างแปลงมีถนนเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน ในพื้นที่ ราบควรวางแนวแปลงปลูกให้ขนานกับทางลำเลียง แต่ในบริเวณลาดเอียงปลูกขวางความ ลาดเอียงของพื้นที่เพื่อลดการชะล้างและสูญเสียหน้าดิน

3.1.3 การปรับพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง

เน้นการปรับหน้าดินเพื่อไม่ให้น้ำขังในแปลง บริเวณที่ลุ่มเป็นแอ่ง เล็กน้อย ควรปรับเอาดินข้างๆ มากลบ แต่ถ้าเป็นแอ่งลึกและกว้างควรแก้ไขโดย การระบายน้ำออก รองพื้นด้วยปุ๋ยรองพื้น

3.1.4 การปลูกพืชเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากภายนอกพื้นที่หรือทางอากาศ

ปลูกไม้ยืนต้นโตเร็วเพื่อเป็นแนวกันชน ป้องกันลม ป้องกันแมลงศัตรู พืชและสารเคมีจากพื้นที่อื่น ได้แก่ กระถิน แคฝรั่ง มะแฮะ เป็นต้น

3.1.5 การเตรียมดินปลูกมันสำปะหลัง

มันสำปะหลังเป็นพืชหัว ผลผลิตที่ใช้ประโยชน์คือรากที่มีการสะสมอาหาร จำพวกแป้งจนขยายใหญ่ขึ้นเป็นหัวอยู่ในดิน การเลือกพื้นที่ควรเลือกที่ ดอน ดินเป็นดินร่วนปนทราย ถ้าเป็นดินเหนียวต้องมีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วม ขัง และต้องมีหน้าดินลึกพอสมควร ก่อนปลูกควรไถและพรวนอย่าง น้อย 2-3 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร เพื่อกลบเศษซากพืชจากฤดูก่อน และทำลาย วัชพืชต่างๆ ให้ลดจำนวนลง การไถให้ใช้ผาน 3 ติดท้ายรถแทรกเตอร์ 1 ครั้ง ตาม ด้วยผาน 7 อีก 1 ครั้ง จะได้ผลผลิตมันสำปะหลังและกำไรสูงสุด ถ้าพื้นที่มี ความลาดชันต้องไถพรวนตามแนวขวาง เพื่อป้องกันการชะล้างของดิน และถ้าดิน ระบายน้ำไม่ดีต้องยกร่องปลูก

3.2 การบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุให้กับแปลงมันสำปะหลัง

การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และทำให้ดินมี กำลังการผลิตที่เพียงพอ สามารถทำได้โดยการเพิ่มปริมาณซากพืช เพิ่มธาตุอาหาร พืชในดิน และกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางชีวภาพในดิน สามารถทำได้ดังนี้

3.2.1 ไม่เผาตอซังมันสำปะหลัง และเศษวัสดุอินทรีย์ แต่ทำการไถกลบลงในพื้นที่เพาะปลูก

3.2.2 ปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อไถกลบ

โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วพร้า อัตรา 8-12 กิโลกรัมต่อไร่ ระหว่างปลูกพืชปุ๋ยสดให้ทำการฉีดด้วยปุ๋ย อินทรีย์น้ำอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ โดยเจือจางด้วยน้ำใน สัดส่วน 1:500 หรือ 1:1,000 ไถกลบเมื่ออายุประมาณ 45 วัน หรือถั่วพุ่ม อัตรา 6-8 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถกลบเมื่ออายุประมาณ 35 วัน ซึ่งเป็นช่วง ออกดอก ทิ้งไว้ 15 วัน ก่อนปลูกมันสำปะหลัง

3.2.3 ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ อัตรา 5 ลิตรต่อไร่

เจือ จาง 1: 500 หรือ 1:1,000 ฉีดพ่นให้ทั่วแปลง และฉีดพ่นให้แก่มัน สำปะหลัง หลังจากปลูกแล้ว 15 วัน หลังจากนั้นให้ฉีดพ่นทุกๆ 1 เดือน จนกว่า จะเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง

3.2.4 ปลูกพืชปุ๋ยสดแซมมันสำปะหลัง เช่น ถั่วพุ่ม หรือถั่วพร้า แซมในแถว มันสำปะหลัง โดยปลูกหลังจากปลูกมันสำปะหลังไปแล้วประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้ว ตัดคลุมดินช่วงพืชปุ๋ยสดออกดอก เพื่อเป็นการรักษาความชื้นในดิน และเพิ่มอิน ทรียวัตถุให้แก่ดิน เมื่อเศษพืชปุ๋ยสดสลายตัว

3.3 วิธีการปลูกมันสำปะหลัง

การเตรียมท่อนพันธุ์

การปลูกมันสำปะหลังนิยมใช้ท่อนพันธุ์ โดยตัดลำต้นให้เป็นท่อน ยาว 15-20 เซนติเมตร เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แก่มีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้น ไป แช่ท่อนพันธุ์ในปุ๋ยอินทรีย์น้ำ เจือจาง 1:500 หรือ 1:1,000 เป็น เวลา 24 ชั่วโมง แล้วนำมาผึ่งท่อนพันธุ์ให้แห้ง ก่อนนำไปปลูก น้ำยาแช่ทอนพันธุ์

วิธีปลูก

การปลูกมันสำปะหลังทำได้โดยนำท่อนพันธุ์ที่เตรียมไว้ปักลงในดินให้ ลึกประมาณ 2/3 ของท่อนพันธุ์ ควรระวังอย่าปักส่วนยอดลงดินเพราะตาจะไม่ งอก การปักตรง 90 องศา หรือปักเฉียง 45 องศากับพื้นดิน ให้ผลผลิตไม่แตกต่าง กัน และมันสำปะหลังจะงอกเร็ว สะดวกต่อการกำจัดวัชพืชและปลูกซ่อม และลงหัว ด้านเดียวเป็นกลุ่ม ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว และให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกแบบ ฝัง 10-15 เปอร์เซ็นต์

ระยะปลูกมันสำปะหลัง

พันธุ์ระยอง 1 โดยใช้ระยะ 100 x 100 เซนติเมตร ซึ่งใน พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ 1,600 ต้น ปลูกประมาณเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยว เดือนเมษายน
ส่วนพันธุ์ระยอง 90 ควรใช้ระยะ 80 x 100 เซนติเมตร (2,000 ต้นต่อไร่) ปลูกประมาณเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวเดือนเมษายน
พันธุ์ระยอง 60 ควรใช้ระยะ 60 x 100 เซนติเมตร (2,400 ต้นต่อไร่) ปลูกประมาณเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวเดือนกุมภาพันธ์
พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ควรใช้ระยะปลูก 80 x 100 เซนติเมตร ปลูกประมาณเดือนมิถุนายน เก็บเกี่ยวเดือนพฤษภาคม

3.4 การดูแลรักษาและกำจัดศัตรูพืชในมันสำปะหลังระบบเกษตรอินทรีย์

3.4.1 การป้องกันกำจัดโรคมันสำปะหลัง

มันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทย มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงรบกวนน้อย มาก ซึ่งปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี และมีความต้านทานต่อโรคและแมลงอยู่ แล้ว อาจพบได้ในบางกรณี เช่น โรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคใบจุดสี น้ำตาล โรคใบจุดไหม้ โรคใบจุดขาว สามารถป้องกันกำจัดโดยใช้สารสกัดป้องกัน เชื้อราจาก กระชาย ก้ามปู ตะไคร้ สมอดุ้ง เป็นต้น โรคที่เกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย เช่น โรคใบไหม้ ป้องกันกำจัดโดยใช้สารสกัดป้องกันเชื้อแบคทีเรีย จาก กระชาย ตะไคร้ ตีนเป็ดทะเล ฉัตรพระอินทร์ เป็นต้น ป้องกันเชื้อราในมันสำปะหลัง ป้องกันแมลงในมันสำปะหลัง

โรคและการป้องกันกำจัด

มันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทย มีปัญหาเรื่องโรคและแมลงรบกวนน้อย มาก อาจเนื่องมาจากส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมืองซึ่งปรับตัวเข้ากับสภาพ แวดล้อมได้ดี และมีความต้านทานต่อโรคและแมลงอยู่แล้ว แต่เมื่อนำพันธุ์ใหม่ เข้ามาปลูกโดยไม่มีการควบคุมที่ดีพอ อาจมีโรคร้ายแรงติดเข้ามาระบาดในประเทศ ได้โรคที่พบระบาดในประเทศไทย มีดังนี้

โรคใบจุดสีน้ำตาล
(brown leaf spot) เกิดจากเชื้อ รา Crecosporidium henningsii อาการที่พบจะเป็นจุดที่ใบโดยเฉพาะใบแก่ รอย แผลจะเป็นเหลี่ยมตามเส้นใบ มีขอบชัดเจน สีเหลืองตรงกลางแผลจะแห้ง โรคนี้พบ ได้ในทุกพันธุ์ พันธุ์พื้นเมืองซึ่งเป็นพันธุ์ต้านทานปานกลาง โรคนี้ทำให้ ผลผลิตลดลง 14-20 เปอร์เซ็นต์ ป้องกันกำจัดโดยใช้สารสกัดป้องกันเชื้อราจาก กระชาย ก้ามปู ตะไคร้ สมอดุ้ง เป็นต้น

โรคใบไหม้
(cassava bacterial blight, CBB) เกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย Xanthomonas camprestris pv. Manihotis อาการจะเกิดขึ้นที่ ใบ เริ่มแรกเป็นจุดเหลี่ยมฉ่ำน้ำแล้วขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นใบไหม้ ใบเหี่ยว ร่วงหล่น มียางไหล ต่อมาเกิดอาการยอดเหี่ยว และแห้งตายลงมา (die back) เป็น โรคที่ร้ายแรงมากชนิดหนึ่งซึ่งจะทำความเสียหายให้มันสำปะหลังได้ ถึง 30-90 เปอร์เซ็นต์ ในประเทศไทยพบอาการต้นเป็นโรคและไม่ระบาดรุนแรง อาจ เป็นเพราะสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการระบาด และพันธุ์ที่แนะนำส่วนใหญ่เป็น พันธุ์ที่ค่อนข้างต้านทานต่อโรคนี้ ป้องกันกำจัดโดยใช้สารสกัดป้องกันเชื้อ แบคทีเรียจากกระชาย ตะไคร้ ตีนเป็ดทะเล ฉัตรพระอินทร์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังสามารถพบโรคอื่นๆ ได้ เช่น โรคใบจุด ไหม้ (blight leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Cercospora viscosae โรคใบจุด ขาว (white leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Phaeoramularia manihotis โรคลำต้น เน่า (stem rot) เกิดจากเชื้อ Glomerella cingulata และโรคหัว เน่า (root rot) ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อราหลายชนิด มักจะเกิดขึ้นเมื่อ หัวมันสำปะหลังเป็นแผล

3.4.2 การป้องกันกำจัดแมลงในมันสำปะหลัง

แมลงที่ทำลายมันสำปะหลังมักจะพบระบาดมากในช่วงที่อากาศค่อนข้างแห้ง แล้ง มักจะเป็นแมลงพวกปากดูด ได้แก่ ไรแดง เพลี้ยแป้ง แมลงหวี่ขาว สามารถ ป้องกันกำจัดโดยพ่นสารสกัดจาก ขมิ้นชัน ข่อย หางไหล เถาวัลย์เปรียง ปอกระ เจา รางจืด สะเดา เป็นต้น เพื่อฆ่าแมลงและศัตรูพืชเป็นจุดเฉพาะบริเวณที่ ระบาดรุนแรง

ไรแดงในมันสำปะหลัง

(red spider mite) ที่พบทำความเสียหายให้มันสำปะหลัง มี 2 ชนิด ได้แก่ ไรแดงหม่อน (Tetranychus truncatus) จะดูดกินน้ำเลี้ยงตาม ใต้ใบล่างๆ แล้วลามขึ้นมาขึ้นสู่ยอด และไรแดงมัน สำปะหลัง (Oligonychus biharensis) จะดูดกินน้ำเลี้ยงบนหลังใบส่วนยอด แล้ว ขยายปริมาณลงสู่ส่วนล่างของต้น ถ้าไรแดงระบาดมากๆ ใบจะเหลืองซีด ม้วน งอ ส่วนยอดงองุ้ม ถ้ามันสำปะหลังมีขนาดเล็กอาจตายได้ หากระบาดมากต้องพ่นสาร สกัดจาก ขมิ้นชัน ข่อย หางไหล เถาวัลย์เปรียง ปอกระ เจา รางจืด สะเดา เป็นต้น เพื่อฆ่าแมลงและศัตรูพืชเฉพาะบริเวณที่มีการระบาด รุนแรง

เพลี้ยแป้ง (stripped mealy bug) เป็นแมลงปากดูด ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่างๆ และถ่ายมูลเหลวไว้ทำให้เกิดราดำ ถ้าระบาดมาก ต้นจะแคระแกร็น ยอดแห้งตาย หรือแตกพุ่ม ถ้าพบต้องตัดต้นไปทำลาย พ่นสารสกัด จาก ขมิ้นชัน ข่อย หางไหล เถาวัลย์เปรียง ปอกระเจา รางจืด สะเดา เป็นต้น แมลงหวี่ขาว (white fly) เป็นแมลงปากดูดจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนใต้ใบ พืช และถ่ายมูลเหลวออกมาทำให้เกิดราดำ มักเกิดควบคู่กับการเข้าทำลายของไร แดง และเพลี้ยแป้ง พ่นสารสกัดจากขมิ้นชัน ข่อย หางไหล เถาวัลย์เปรียง ปอกระ เจา รางจืด สะเดา เป็นต้น แมลงปากกัดอื่นๆ พบบ้างแต่ไม่ทำความเสียหายมากนัก เช่น แมลงนูนหลวง ตัวหนอน จะทำลายกัดกินราก ต้นมันสำปะหลังที่มีขนาดเล็กอาจตายได้ ด้วงหนวดยาว ตัว หนอนจะกัดกินภายในเหง้าและต้นทำให้ต้นหักล้ม

3.4.3 การควบคุมวัชพืชในมันสำปะหลัง

ในระยะแรกของการปลูกมันสำปะหลังจะมีวัชพืชขึ้นรบกวนมาก และระยะเวลา วิกฤตในการกำจัดวัชพืชจะอยู่ที่ 2-3 เดือนแรก เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่มัน สำปะหลังกำลังลงหัว หลังจาก 4 เดือนไปแล้วมันสำปะหลังจะไม่มีการสร้างหัว เพิ่ม แต่จะขยายขนาดหัวให้ใหญ่ขึ้น ถ้ามีวัชพืชขึ้นรบกวนในช่วงนี้มากจะ ทำให้ผลผลิตลดลง การเริ่มกำจัดวัชพืชครั้งแรกต้องรีบกระทำ อาจเริ่ม ที่ 15 วันหลังจากปลูก ยิ่งล่าช้าออกไปผลผลิตจะยิ่งลดลง ควรกำจัดวัชพืช ครั้งแรกให้เสร็จภายใน 1 เดือน หลังจากปลูก และอาจต้องกำจัดวัชพืช อีก 2-3 ครั้ง จนกว่าพุ่มของใบมันสำปะหลังจะชิดกัน หรืออีกวิธีหนึ่งที่ สามารถป้องกันวัชพืชได้คือการปลูกพืชปุ๋ยสดแซมในแปลงมันสำปะหลัง เป็นการ คลุมดินป้องกันวัชพืชได้ในช่วงแรกๆ แล้วตัดวางคลุมดินไว้ หรือใช้สารสกัดจาก ควินิน แกง ชุมเห็ดไทย ตำแยแมว ชบา น้ำนมราชสีห์ เพื่อยับยั้งการเจริญ เติบโตของวัชพืช

3.5 การจัดการดินหลังเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง

มันสำปะหลังได้เปรียบพืชไร่ชนิดอื่นที่สามารถยืดหยุ่นอายุการเก็บ เกี่ยวได้ตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังตามความ จำเป็น เช่น ราคา และแรงงาน แต่โดยปกติจะเก็บเกี่ยวเมื่อ อายุ 10-12 เดือน เพราะผลผลิตมันสำปะหลังจะมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น หลัง จากเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลัง ต้องตัดเหง้าและต้นออก และรีบส่งหัวมันสดเข้า โรงงานทันที หรืออย่างช้าไม่เกิน 3 วัน มิฉะนั้นหัวมันจะเริ่มเน่า ส่วน ลำต้นต้องเก็บทันทีเพื่อใช้ทำพันธุ์ต่อไป โดยนำไปกองรวมกันแบบตั้งขึ้นให้ โคนติดพื้นดินส่วนยอดตั้งขึ้นในร่ม วิธีนี้สามารถเก็บต้นได้นาน ถึง 30 วัน ส่วนของกิ่ง ก้าน และใบ และในส่วนที่เป็นวัสดุตอซังให้สับกลบลง สู่ดินทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้แก่ดิน

3.6 การบันทึกข้อมูลมันสำปะหลัง

เพื่อให้ระบบการผลิตมันสำปะหลังอินทรีย์ถูกต้องตามหลักการเกษตร อินทรีย์ และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีปลอดภัยจากสารพิษ จำเป็นต้องมีระบบการ บันทึกข้อมูลตั้งแต่การเตรียมดินจนถึงการเก็บเกี่ยวที่ชัดเจน มี ประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับหลักการของระบบเกษตรอินทรีย์

ขอบคุณข้อมูลจาก ldd.go.th

ข้อมูลเพิ่มเติม

น้ำหนัก 0.5 กก.
ขนาด 8 × 8 × 17 เซนติเมตร

รีวิว

ยังไม่มีบทวิจารณ์

มาเป็นคนแรกที่วิจารณ์ “น้ำยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เร่งราก ป้องกันโรค ตรา กู๊ดโซค”

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *