สาเหตุของ โรคราสีชมพูในทุเรียน
เกิดจากเชื้อราคอร์ทีเซียม (Corticium salmonicolor)
ลักษณะอาการ ของโรคราสีชมพู ในทุเรียน
เมื่อมองดูจากนอกทรงพุ่ม จะเห็นอาการใบเหลืองร่วงเป็นหย่อมๆ คล้ายอาการกิ่งแห้ง หรือโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอฟธอรา แต่หากสังเกตตามกิ่งด้านในของทรงพุ่มจะเห็นเส้นใยของเชื้อราสีขาวปกคลุมโคนกิ่งที่แสดงอาการ เมื่อเชื้อเจริญลุกลามและมีอายุมากขึ้น เส้นใยขาวจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพู ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เชื้อราสร้างส่วนขยายพันธุ์เพื่อการระบาดไปยังต้นอื่น ๆ ต่อไป เมื่อถากส่วนของกิ่งที่มีเชื้อราปกคลุมอยู่จะเห็นเนื้อเปลือกแห้งเป็นสีน้ำตาล
การแพร่ระบาดของโรคราสีชมพู
โรคราสีชมพูในทุเรียน จะแพร่ระบาดมากในสภาพความชื้นสูง
การป้องกันกำจัด โรคราสีชมพูในทุเรียน
- หมั่นตรวจหาลักษณะอาการของโรคในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ
- เมื่อพบเชื้อราเริ่มเข้าทำลายตามกิ่งที่มีขนาดใหญ่ ควรใช้มีดขูดเปลือกกิ่งออกบาง ๆ แล้วทาด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์รอบ ๆ กิ่ง
- ตัดกิ่งส่วนที่เป็นโรคออก แล้วนำไปเผาทำลาย แล้วทาด้วยสารเคมี เช่น คอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์รอบ ๆ บริเวณรอยตัดของกิ่ง
- ควรทำการตัดแต่งกิ่งต้นทุเรียนให้มีทรงพุ่มโปร่งพอสมควร เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้
- ในแหล่งปลูกที่พบโรคราสีชมพูระบาดเป็นประจำ ฉีดพ่น เพื่อป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
- บำรุงให้ต้นทุเรียน สมบูรณ์ แข็งแรง สร้างความต้านทานต่อโรค ด้วย FK-1
การสั่งซื้อ
โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset ←คลิกเลย
หรือทักแชทที่เพจ ฟาร์มเกษตร
อ้างอิง doa.go.th/share/attachment.php?aid=2976