ด้วงแรดมะพร้าว แมลงศัตรูมะพร้าว เข้าทำลาย ลดผลผลิต รุนแรง มะพร้าวอาจตายได้

ด้วงแรดมะพร้าว

ด้วงแรดมะพร้าว แมลงศัตรูพืช ที่เข้าทำลายมะพร้าว

ด้วงแรด เป็นแมลงศัตูมะพร้าวที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง มีด้วงแรดชนิดเล็ก และด้วงแรดชนิดใหญ่ ส่วนมากที่พบในไทยนั้น จะเป็นด้วงแรดชนิดเล็ก ในส่วนของ ด้วงแรด ชนิดใหญ่ จะพบไม่มากนักโดยทั่วๆไป แต่จะพบในโซนภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป จากครั้งที่เคยมีการโค่นทำลายต้นมะพร้าวจำนวนมาก เพื่อปลูก ปาล์มน้ำมัน ด้วงแรด จึงกลายเป็นแมลงศัตรูพืช ที่เข้าทำลายปาล์มน้ำมันด้วยอีกพืชหนึ่ง

 

ด้วงแรด เข้าทำลายต้นมะพร้าวอย่างไร?

ตัวเต็มวัยของ ด้วงแรด จะบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางมะพร้าว หรือปาล์มน้ำมันก็โดนด้วยเหมือนกัน ทำให้ใบมะพร้าวหักง่าย และยังกัดเจาะทำลายยอดอ่อนของมะพร้าวอีกด้วย ส่งผลให้ทางใบมะพร้าวที่เกิดใหม่เป็นรอยแหว่ง ไม่สมบูรณ์ ถ้าโดนทำลายมากๆ ใบมะพร้าวที่เกิดใหม่จะเล็ก แคระแกรน และรอยแผลที่ถูกกัดแทะ จะเป็นเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ทำลายซ้ำอีก ส่งผลให้เกิดยอดเน่า และตายในที่สุด

 

วงจรชีวิตของ ด้วงแรด

ตั้งแต่ไข่จนถึงตัวเต็มวัย ใช้เวลา 4-9 เดือน โดยเฉลี่ยประมาณ 6 เดือน

ด้วงแรด วงจรชีวิต

 

ป้องกัด กำจัดด้วงแรด จัดการในระยะ หนอน

ไอกี้-บีที กำจัดหนอน ปลอดสารพิษ

ฉีดพ่นทางใบด้วย FK-1 บำรุงให้มะพร้าวฟื้นตัว

ปุ๋ยน้ำ FK-1 ปุ๋ยน้ำสูตรเข้มข้น

 

อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพจาก
– spc.int/blog/curbing-the-coconut-rhinoceros-beetle-in-the-pacific/
– at.doa.go.th/coconut/beetle.html

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *