พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง ภาคเหนือ และ ภาคใต้
สาเหตุโรคข้าวกาบใบแห้ง
เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani (Thanatephorus cucumeris (Frank) Donk)
อาการ เริ่มพบโรคในระยะแตกกอ จนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว ยิ่งต้นข้าวมีการแตกกอมากเท่าใด ต้นข้าวก็จะเบียดเสียดกันมากขึ้น โรคก็จะเป็นรุนแรง ลักษณะแผลสีเขียวปนเทา ขนาดประมาณ 1-4 x 2-10 มิลลิเมตร ปรากฏตามกาบใบ ตรงบริเวณใกล้ระดับน้ำ แผลจะลุกลามขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดไม่จำกัดและลุกลามขยายขึ้นถึงใบข้าว ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอ แผลสามารถลุกลามถึงใบธงและกาบหุ้มรวงข้าว ทำให้ใบและกาบใบเหี่ยวแห้ง ผลผลิตจะลดลงอย่างมากมาย
การแพร่ระบาด เชื้อราสามารถสร้างเม็ดขยายพันธุ์ อยู่ได้นานในตอซังหรือวัชพืชในนาตามดินนา และมีชีวิตข้ามฤดูหมุนเวียนทำลายข้าวได้ตลอดฤดูการทำนา
การป้องกันกำจัดโรคกาบใบแห้ง ในข้าว
- หลังเก็บเกี่ยวข้าว และเริ่มฤดูใหม่ ควรพลิกไถหน้าดินตากแดด เพื่อทำลายเม็ดขยายพันธุ์ (Fruiting body) ของเชื้อราสาเหตุโรค
- กำจัดวัชพืชตามคันนาและแหล่งน้ำ เพื่อเพื่อทำลายพืชอาศัยของเชื้อราสาเหตุโรค
- ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่น ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร
อ้างอิง ricethailand.go.th/rkb3/title-index.php-file=content.php&id=116-1.htm
ไอเอส ฉีดพ่นเพื่อ ป้องกัน ยับยั้ง โรคข้าวกาบใบแห้ง ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อ ฟื้นฟู เร่งโต แตกกอ สมบูรณ์ แข็งแรง
FK-3R ปุ๋ยเพิ่มผลผลิตข้าว ฉีดพ่นตอนข้าวเป็นน้ำนม ข้าวรวงยาว เมล็ดเต็ม น้ำหนักดี ผลผลิตมีคุณภาพดี
การสั่งซื้อ
โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset ←คลิกเลย
หรือทักแชทที่เพจ ฟาร์มเกษตร