โรคปาล์ม : โรคที่เกิดกับปาล์มประดับ และปาล์มน้ำมั้น รวมถึงปาล์มสายพันธุ์ต่างๆ

ฟาร์มเกษตร ส่งฟรีถึงบ้าน ชำระปลายทาง

โรคใบจุดปาล์มน้ำมั้น โรคใบจุดปาล์ม
ภาพตัวอย่าง โรคใบจุด ที่เกิดกับ ปาล์ม

โรคใบไหม้ ปาล์มใบไหม้

โรคปาล์ม, โรคใบใหม่, โรคปาล์มน้ำมันลักษณะอาการ: โรคใบใหม้

โรคใบไหม้ (Curvularia Seeding Blight) เป็นโรคสำคัญ พบมากในช่วงระยะต้นกล้าปาล์ม และพบในระยะที่ลงแปลงปลูกในช่วง 1 ปีแรก

อาการของโรค มักพบอาการบนใบอ่อน ซึ่งส่วนมากจะเป็นช่วงที่ใบเริ่มคลี่ โดยระยะแรกจะเกิดเป็นจุดเล็กๆ ลักษณะโปร่งใส ระยะต่อมาเมื่อแผลขยายเต็มที่จะมีสีน้ำตาลแดงขอบสีน้ำเงินเข้มมีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบ แผลจะมีรูปร่างทรงกลมรี มีความยาวของแผลประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ไม่เหมาะกับการนำไปปลูก เพราะต้นกล้าเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ หากอาการรุนแรงอาจจะทำให้ใบใหม่และต้นกล้าตายได้

สาเหตุ เชื้อรา Curvularia sp.

การป้องกันและกำจัด โรคใบไหม้ ในปาล์ม ปาล์มน้ำมัน

  1. แยกต้นที่มีอาการออกมาเผาทำลาย
  2. พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่ไม่มีสารทองแดงเป็นองค์ประกอบ
    เช่น ไทแรม 75% WP ในอัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
  3. ฉีดพ่นทุก 5-7 วัน โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาด

ปาล์มใบจุด โรคใบจุดปาล์มน้ำมั้น

โรคปาล์ม, โรคใบจุด, โรคปาล์มน้ำมันPhoto by Monica L. Elliott, Professor, Plant Pathology, University of Florida, Institute of Food and Agricultural Sciences (UF/IFAS)

โรคใบจุด (Halminthosporium leaf spot) มักพบกับต้นกล้าปาล์มน้ำมันอายุตั้งแต่ 5 เดือนขึ้นไป ในช่วงที่มีสภาพอากาศแล้งจัดหรือมีความชื้นน้อย

อาการของโรค พบบนใบอ่อนได้เช่นเดียวกัน แต่ลักษณะแผลจะเป็นจุดสีเหลืองกลมเล็กๆ มีขอบวงแหวนสีเหลือง ความหนาแน่นของจุดจะมีปริมาณมากกว่าโรคใบไหม้ โดยมากมักเกิดเป็นกลุ่มๆ และมักเกิดบริเวณปลายใบเข้ามา

เมื่อมีอายุเยอะขึ้นจุดแผลสีเหลืองจะกลายเป็นจุดสีน้ำตาล เมื่ออาการรุนแรงจุดสีเหลืองจะขยายตัวรวมกัน ทำให้ใบเหลืองทั้งใบ บนปลายใบเริ่มแห้งเป็นสีน้ำตาล

สาเหตุ เชื้อรา Drechslera sp.

การแพร่ระบาด สปอร์ของเชื้อรา ปลิวไปตามลม และน้ำ

การป้องกันและกำจัดโรค โรคปาล์มใบจุด

  1. แยกต้นที่มีอาการออกมาเผาทำลาย
  2. ฉีดพ่นด้วยสารป้องกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ไทแรม หรือ แคปเทน ให้ทั่วทั้งต้นและใต้ใบ

โรคแอนแทรคโนสปาล์ม

โรคปาล์ม, โรคปาล์มน้ำมันลักษณะอาการ: โรคแอนแทรคโนสปาล์ม

โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) โรคนี้เกิดมากในสภาพต้นกล้าที่พึ่งย้ายปลูกต้นปาล์มน้ำมันใหม่ๆ หรือแปลงปลูกที่มีความชื้นสูง

อาการของโรค จะมีแผลลักษณะยาวรีบนใบปาล์ม โดยแผลจะมีลักษณะสีน้ำตาลเพราะเนื้อเยื่อของพืชตาย แผลจะยุบลงเล็กน้อย ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้มล้อมรอบด้วยสีเหลือง บริเวณแผลจะมีจุดดำเล็กๆ เรียงเป็นวงๆ โดยขนาดแผลจะขยายเพิ่มตามความรุนแรงหรือสภาพความชื้นที่เหมาะสม

สาเหตุ เชื้อรา Collectotrichum sp.

การแพร่ระบาด สปอร์ของเชื้อรา ปลิวไปตามลม และน้ำ

การป้องกันและกำจัด โรคแอนแทรคโนสปาล์ม

  1. วางต้นกล้าให้มีระยะห่างกัน ไม่ควรวางชิดกันจนเกินไป
  2. จัดการระบบการให้น้ำ โดยทำให้มีลักษณะเป็นฝอยๆ ให้มากที่สุด เพราะถ้าเป็นน้ำหยดใหญ่จะทำให้เกิดแผลบนใบได้ ซึ่งเป็นช่องทางให้เชื้อเข้าทำลาย
  3. ป้องกันการระบาดของโรคโดยแยกต้นที่มีอาการออกมาจากแปลงปลูก
  4. ฉีดพ่นสารป้องกำจัดโรคพืช เช่น ไทแรม หรือ แคปแทน หรือ ไทอะเบนดาโซล ทุกๆ 10 วัน ในช่วงที่โรคระบาด

โรคบลาส

โรคบลาส (Blast) ต้นกล้าจะเป็นโรคนี้มากในช่วงอายุ 6-8 เดือน หรือในสภาพที่ขาดน้ำ

อาการของโรค

– ระยะแรกใบของต้นกล้าปาล์มน้ำมัน จะมีสีเหลืองซีด โดยเฉพาะช่วงปลายใบจะมีลักษณะด้านคือไม่มีความมัน ต่อมาสีของไม้จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวมะกอก ปลายใบจะแห้งเปลี่ยนเป็นสีม่วงน้ำตาลต่อมาจะลุกลามทั้งใบจนเนื้อเยื่อของใบตาย

– อาการมักเริ่มจากใบล่างลุกลามขึ้นไปยังใบยอด บางครั้งจะพบอาการยอดเน่า เมื่อมีอาการรุนแรงต้นกล้าปาล์มจะแห้งตายภายใน 2-3 วัน

*หมายเหตุ: โรคบลาส แตกต่างจากโรครากเน่าในปาล์มน้ำมัน เมื่อถอนรากดูจะพบว่าชั้น cortex ถูกทำลายจึงสามารถดึงรากหลุดออกได้ง่าย การเน่าของรากจะลุกลามขึ้นไปจนถึงเนื้อเยื่อของต้น แต่ไม่เข้าทำลายส่วนสำคัญของลำต้นปาล์ม

สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia lamellifera และ Pythium splendens

การแพร่ระบาด มีหลายปัจจัย เช่น ความแข็งแรงของต้นกล้า การให้ร่มเงา การให้น้ำ แมลงพาหะของโรคอย่างเช่นเพลี้ยจักจั่น ซึ่งอาศัยอยู่บนวัชพืชในแปลงปลูกปาล์ม

การป้องกันและกำจัดโรค

  1. แปลงเพาะควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ หรือควรให้น้ำปาล์มน้ำมันอย่างเพียงพอ
  2. ลดอุณหภูมิของดิน รักษาความชื้นในดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  3. ควรกำจัดวัชพืชออกโดยใช้สารเคมี aldicarb (temik) จำนวน 2 กรัม/ต้น/เดือน ในบริเวณที่มีแมลงพาหะของโรคอาศัยอยู่
  4. ใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อบำรุงต้นกล้าให้แข็งแรง

โรครากเน่าของต้นกล้า

โรครากเน่าของต้นกล้า (Nursery Root Rot) โรคนี้พบมากในสภาวะที่มีฝนตกมากหลังจากแล้งติดต่อกันยาวนาน

อาการของโรค อาการจะคล้ายกับ โรคบลาส แต่บริเวณรากจะเน่าเป็นสีน้ำตาล ภายในรากจะกลวง เมื่อพบอาการใบเหลืองซีด และใบยอดมีอาการแห้ง แสดงว่ารากแก้วได้ถูกทำลายลงหมดแล้ว

อาการผิดปกติที่เกิดในระยะต้นกล้า

1 Collante

Collante เป็นอาการของต้นปาล์มน้ำมันที่ได้รับน้ำไม่เพียงพอ พบมากในช่วงฤดูแล้ง ฤดูที่มีอากาศร้อนจัด

ลักษณะอาการ บริเวณใบยอดจะติดกันเป็นหลอดกลม อาจจะติดกับยอด หรืออาจจะติดเฉพาะโคน หรือปลายยอด ทำให้ต้นกล้าปาล์มน้ำมันไม่สามารถแทงยอดใหม่ได้ ต้นกล้าปาล์มจะไม่มีการเจริญเติบโตต่อไป

สาเหตุ การขาดน้ำ

2 Nursery Transplanting Chock

ลักษณะอาการ ใบยอดจะแสดงอาการเขียวจัดกว่าปกติ และจะเริ่มเหี่ยวจนเป็นสีเขียวน้ำตาล โดยเริ่มจากโคนใบ จนกระทั่งยอดใบแห้ง และใบถัดมาเริ่มแสดงอาการแห้งให้เห็นจนสามารถดึงต้นหลุดออกจากเมล็ดได้ นอกจากนี้รากจะเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลภายในกลวง
สาเหตุ ขาดความระมัดระวังในการย้ายต้นกล้า หรือทำการถอนย้ายต้นกล้าในขณะที่อากาศร้อนจัดจนเกินไป หรือถอนกล้าทิ้งเอาไว้นานเกินไป หรือไม่ใช้วิธีการปลูกที่ถูกต้อง

3 ใบไหม้เนื่องจากปุ๋ย (Fertilizer burn)

ใบไหม้เนื่องจากปุ๋ย, โรคปาล์ม, โรคปาล์มน้ำมัน,ลักษณะอาการ: ใบไหม้เนื่องจากปุ๋ย

ลักษณะอาการ จะแสดงอาการบริเวณยอดใบอ่อน โดยจะเริ่มซีดและแห้งลงอย่างรวดเร็ว ส่วนที่จะแสดงอาการนั้นจะฉีกขาดง่าย ขอบของแผลจะไม่เห็นชัดเท่าอการของโรคต่างๆ

สาเหตุ ให้ปุ๋ยในขณะอากาศร้อนจัด หรือมีอากาศแห้งแล้งจัด หรือให้ปุ๋ยในอัตราที่สูงเกินไป

พิษจากยาฆ่าหญ้า (Herbicides toxicity)

พิษจากยาฆ่าหญ้า, ใบไหม้จากยาฆ่าหญ้า, โรคปาล์ม, โรคปาล์มน้ำมัน,ลักษณะอาการ: พิษจากยาฆ่าหญ้า (Herbicides toxicity)

ลักษณะอาการ เกิดจุดแผลยุบตื้นๆมีลักษณะด้าน(ไม่มัน) มีขนาดไม่แน่นอน ขอบของแผลสีเข้มจัดชัดเจน ขอบแผลมีวงสีเหลืองล้อมรอบ

สาเหตุ พิษจากยาฆ่าหญ้า

ไอเอส ยารักษาโรคปาล์ม ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ เช่น โรคปาล์มใบไหม้ โรคใบจุดปาล์ม โรคแอนแทรคโนส โรคบลาส เป็นต้น

ยารักษาโรคปาล์ม ยาแก้โรคปาล์ม ยาแก้ปาล์มใบไหม้ ไอเอส
ปุ๋ยบำรุงปาล์ม ปุ๋ยปาล์มน้ำมั้น

การสั่งซื้อ

โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset ←คลิกเลย
หรือทักแชทที่เพจ ฟาร์มเกษตร

อ้างอิง http://www.cpiagrotech.com/knowledge-074/#!

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *