จากสภาพอากาศเย็น มีหมอกในตอนเช้า และมีความชื้นสูง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศเฝ้าระวัง โรคใบไหม้มะเขือเทศ ที่สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ เริ่มแรกจะพบอาการของโรคที่ใบล่างก่อน และด้านบนใบพบแผลฉ่ำน้ำสีเขียวหม่นคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ตรงกลางแผลแห้งเป็นสีน้ำตาล บริเวณขอบแผลฉ่ำน้ำมีสีดำ เมื่อพลิกดูด้านใต้ใบบริเวณตรงกันจะพบส่วนของเชื้อราสาเหตุโรคสีขาว และแผลจะลุกลามออกไปทำให้ใบไหม้แห้งเป็นสีน้ำตาลในที่สุด หากสภาพแวดล้อมเหมาะสมมีความชื้นสูง หรือในสภาพที่มีหมอกลงจัด โรคจะลุกลามอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้จะพบอาการโรคที่ส่วนของลำต้น กิ่ง และผล หากเกิดแผลที่ลำต้นหรือโคนกิ่ง จะทำให้ส่วนยอดแสดงอาการเหี่ยวเฉา เนื่องจากพืชไม่สามารถลำเลียงน้ำและอาหารได้ ต่อมากิ่งหรือต้นจะแห้งตาย หากโรคเข้าทำลายที่ผลจะทำให้ผลเน่า
เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรคให้พ่นด้วย สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ไอเอส ในอัตราส่วน 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งบนใบและใต้ใบ ทุก 5-7 วัน และไม่ควรพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรใช้สลับชนิด เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อราสาเหตุโรค
สำหรับในแปลงที่พบการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เกษตรกรเก็บซากพืชไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้น ให้ไถพรวนดินและตากดินไว้นานกว่า 2 สัปดาห์ และใส่ปูนขาวเพื่อจะช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคในดินลงได้มาก อีกทั้งควรปรับระยะปลูกไม่ให้แน่นเกินไป กรณีปลูกมะเขือเทศแบบยกค้าง ควรตัดแต่งใบล่างให้โปร่ง เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ส่วนต้นที่เป็นโรครุนแรง ควรถอนนำไปทำลายนอกแปลง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่ระบาดของโรค หลีกเลี่ยง การปลูกมะเขือเทศในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน งดการให้น้ำ ในตอนเย็น และไม่ให้น้ำมากเกินไป ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรเมื่อใช้ในแปลงที่มีการระบาดแล้ว ควรนำมาทำความสะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุกครั้ง
ข้อมูลปรับแต่ง อ้างอิง konkao.net/read.php?id=37997
ยาป้องกัน มะเขือเทศใบไหม้ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้ง โรคใบไหม้มะเขือเทศ บำรุงด้วย FK-1 ฟื้นฟูมะเขือเทศ จากการเข้าทำลายของโรค เร่งโต เพิ่มผลผลิต
การสั่งซื้อ
โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset ←คลิกเลย
หรือทักแชทที่เพจ ฟาร์มเกษตร