โรคกล้วยไม้ : กล้วยไม้ใบจุด เน่าดำ ราสนิม ดอกสนิม ดอกจุดสนิม ป้องกัน และกำจัดได้

1.โรคเน่าดำ โรคยอดเน่า หรือ โรคเน่าเข้าไส้ (Black rot)

กล้วยไม้ยอดเน่า กล้วยไม้ไส้เน่า

ลักษณะอาการ กล้วยไม้ยอดเน่า

เกิดได้ทุกส่วนของกล้วยไม้ เกือบทุกสกุล สามารถสังเกตsอาการของโรคได้ดังนี้
ราก : เป็นแผลสีดำ เน่า แห้ง ยุบตัวลง หรือ รากเน่าแห้งแฟบ ต่อมาเชื้อจะลุกลามเข้าไปในต้น
ต้น : เชื้อราเข้าทำลายได้ทั้งทางยอด และโคนต้น ทำให้ยอดเน่าดำ ถ้าทำลายโคนต้นใบจะเหลือง และหลุดร่วงจนหมด เรียกว่า โรคแก้ผ้า
ใบ : เป็นจุดใส ชุ่มน้ำ สีเหลือง ต่อมาสีเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แล้วเป็นสีดำในที่สุด ในสภาพที่มีความชื้นสูง แผลจะขยายใหญ่ลุกลามอย่างรวดเร็ว เชื้อราจะสร้างเส้นใยสีขาวละเอียด บนแผลเน่าดำนั้น
ก้านช่อดอก : เป็นแผลเน่าดำ ลุกลามจนก้านช่อดอกหักพับ
ดอก : เป็นจุดแผลสีดำ มีสีเหลืองล้อมรอบแผลนั้น กรณีที่เป็นกับดอกตูมขนาดเล็ก ดอกจะเน่าแล้วหลุดจากก้านช่อ

การแพร่ระบาดของ โรคกล้วยไม้ยอดเน่า

โรคนี้แพร่ได้ง่ายเนื่องจากสปอร์ของเชื้อราจะกระเด็นไปกับน้ำในระหว่างการรดน้ำ มักระบาดในฤดูฝน โดยกระเด็นไปกับน้ำฝน

การป้องกันกำจัด โรคกล้วยไม้ยอดเน่า

อย่าปลูกกล้วยไม้แน่นจนเกินไปถ้าพบโรคนี้ในระยะลูกกล้วยไม้ให้แยกออก ถ้าเป็นกับต้นกล้วยไม้ที่โต ให้เผาทำลายไม่ควรให้น้ำกล้วยไม้ตอนเย็นใกล้ค่ำ โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว เพราะจะทำให้เกิดสภาพอากาศเย็น ความชื้นสูง ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อนี้ โรคจะแพร่ระบาดรุนแรงได้ง่ายขึ้นในกรณีที่ปลูกกล้วยไม้บนพื้นดินเหนียว ควรรองพื้นด้วยขี้เถ้าแกลบก่อนปูด้วยกาบมะพร้าว เพื่อช่วยระบายน้ำ และช่วยป้องกันไม่ให้โรคนี้ทำลายกล้วยไม้ในระยะแรก

ฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ในอัตราส่วน 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

2. โรคดอกสนิม หรือจุดสนิม (Flower rusty spot)

กล้วยไม้ดอกสนิม ราสนิมกล้วยไม้

ลักษณะอาการ โรคกล้วยไม้ดอกจุด

เป็นโรคที่พบมากในกล้วยไม้สกุลหวาย โดยจะเกิดเป็นจุดขนาดเล็ก สีเหลืองอมน้ำตาลบนกลีบดอก เมื่อจุดขยายโตขึ้นจะมีสีเข้มคล้ายสีของสนิม

การแพร่ระบาด โรคกล้วยไม้จุดสนิม

โรคจะระบาดอย่างรวดเร็ว ถ้ามีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือมีน้ำค้างลงจัด

การป้องกันกำจัด โรคดอกจุดกล้วยไม้

เก็บดอกกล้วยไม้ ทั้งที่ร่วงและเป็นโรคเผาทำลายน้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ ที่ไม่ใช่น้ำประปา ควรผ่านการฆ่าเชื้อด้วยผงคลอรีน อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 400 ลิตร แล้วปล่องทิ้งค้างคืนจนหมดกลิ่น จึงนำไปใช้การใช้ปุ๋ยในระยะออกดอก ควรใช้ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมสูง เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อโรค หรือลดความรุนแรงของโรค

ฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ในอัตราส่วน 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

3. โรคใบปื้นเหลือง (Yellow leaf spot)

กล้วยไม้ใบเหลือง

ลักษณะอาการ

เกิดจุดกลมสีเหลืองที่ใบบริเวณโคนต้น ถ้าอาการรุนแรงจุดเหล่านี้จะขยายติดต่อกันเป็นปื้นสีเหลืองตามแนวยาวของใบ เมื่อพบดูด้านหลังใบจะพบกลุ่มผงสีดำ ในที่สุดใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและหลุดร่วงจากต้น

การแพร่ระบาด

โรคนี้แพร่ระบาดมากช่วงปลายฤดูฝน จนถึงฤดูหนาว โดยสปร์จะปลิวไปตามลม หรือกระเด็นไปกับละอองน้ำที่ใช้รดต้นกล้วยไม้

การป้องกันกำจัด

เก็บรวบรวมใบที่เป็นโรค เผาทำลาย

4. โรคใบจุด หรือโรคใบขี้กลาก (Leaf Spot)

โรคใบจุดกล้วยไม้ กล้วยไม้ใบจุด

ลักษณะอาการ

กล้วยไม้สกุลแวนด้า มีลักษณะแผลเป็นรูปยาวรีคล้ายกระสวย ถ้าเป็นมาก แผลจะรวมกันเป็นแผ่น บริเวณตรงกลางแผลจะมีตุ่มนูนสีน้ำตาลดำ ลูบจะรู้สึกสากมือ ชาวสวนจึงเรียกโรคนี้ว่า โรคขี้กลาก กล้วยไม้สกุลหวาย มีลักษณะแผลเป็นจุดกลมสีน้ำตาลเข้ม หรือดำ ขอบแผลมีสีน้ำตาลอ่อน แผลมีขนาดเท่าปลายเข็มหมุด จนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 1 เซนติเมตร บางครั้งแผลจะบุ๋มลึกลงไป หรืออาจนูนขึ้นมาเล็กน้อย หรือเป็นสะเก็ดสีดำเกิดขึ้นได้ทั้งด้านบน และ ใต้ใบ บางครั้งอาจมีอาการเป็นจุดกลมสีเหลือง เห็นได้ชัดเจนก่อน แล้วจึงค่อยๆเปลี่ยนเป็นจุดสีดำทั้งวงกล

การแพร่ระบาด

แพร่ระบาดได้ตลอดปี สำหรับกล้วยไม้สกุลแวนด้า ระบาดมากในช่วงปลายฤดูฝน จนถึงฤดูหนาว โดยสปอร์ของเชื้อรา ปลิวไปตามลม หรือกระเด็นไปกับน้ำ

การป้องกันกำจัด

รวบรวมใบที่เป็นโรคเผาทำลาย

5. โรคเน่า (Rot)

ลักษณะอาการ

เริ่มแรกเป็นจุดฉ่ำน้ำบนใบหรือหน่ออ่อน จากนั้นแผลจะเริ่มขยายขนาดขึ้น และเนื้อเยื่อมีลักษณะเหมือนถูกน้ำร้อนลวก ใบจะพองเป็นสีน้ำตาล ขอบแผลมีสีเหลืองเห็นได้ชัดเจน ภายใน 2-3 วัน เนื้อเยื่อใบจะโปร่งแสง มองเห็นเส้นใบ ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้กล้วยไม้เน่ายุบตายทั้งต้น

การแพร่ระบาด

ในสภาพอากาศร้อนและความชื้นสูง โรคจะแพร่ระบาดอย่างรุนแรงและรวดเร็ว

การป้องกัน

เก็บรวบรวมส่วนที่เป็นโรคเผาทำลาย ควรปลูกกล้วยไม้ในโรงเรือนหรือใต้หลังคาพลาสติก ถ้ามีโรคเน่าระบาดให้งดการให้น้ำระยะหนึ่ง อาการเน่าจะแห้ง ไม่ลุกลามหรือ

6. โรคไวรัส (Virus)

โรคไวรัสกล้วยไม้

ลักษณะอาการ

อาการที่ปรากฏแตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้อไวรัส และชนิดของกล้วยไม้ บางครั้งกล้วยไม้ที่มีเชื้อไวรัสอยู่อาจจะแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการออกมาให้ปรากฏก็ได้ ลักษณะอาการที่มักพบบ่อยๆมีดังนี้

  1. ลักษณะใบด่าง ตามแนวยาวของใบ มีสีเขียวอ่อนผสมสีเขียวเข้ม
  2. ยอดบิด ช่วงข้อจะถี่สั้นแคระแกร็น
  3. ช่อดอกสั้น กลีบดอกบิด เนื้อเยื่อหน่าแข็งกระด้าง บางครั้งกลีบดอกจะมีสีซีดตรงโคนกลีบ หรือ ดอกด่างซีด ขนาดเล็กลง

การแพร่ระบาด

เชื้อไวรัสแพร่ระบาดได้ง่ายโดยติดไปกับเครื่องใช้ต่างๆ เช่น มีด กรรไกร ที่ใช้ตัดหน่อเพื่อขยายพันธุ์ หรือใช้ตัดดอกและตัดแต่งต้น

การป้องกันกำจัด

  1. ถ้าพบต้นกล้วยไม้อาการผิดปกติดังกล่าว ใหเแยกออกแล้วนำไปเผาทำลาย อย่านำไปขยายพันธุ์
  2. ทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ทุกครั้งที่มีการตัดแยกหน่อ หรือดอก โดยจุ่มในน้ำสบู่ น้ำผงซักฟอกทุกครั้งเพื่อฆ่าเชื้อก่อน
  3. ควรดูแลรักษาต้นกล้วยไม้ให้สมบูรณ์อยู่เสมอ
  4. ควรตรวจสอบพันธุ์กล้วยไม้ก่อนนำไปขยายพันธุ์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

ฉีดพ่น ไอเอส เมื่อพบ โรคกล้วยไม้ต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น โรคยอดเน่า ใบเหลือง ใบจุดสีน้ำตาล ราสนิม เป็นต้น

ยารักษาโรคกล้วยไม้ ไอเอส

FK-1 ใช้ฉีดพ่น บำรุงกล้วยไม้ ให้โตไว สมบูรณ์ แข็งแรง ดอกสวย

ปุ๋ยสำหรับกล้วยไม้

การสั่งซื้อ

โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset ←คลิกเลย
หรือทักแชทที่เพจ ฟาร์มเกษตร

อ้างอิง sites.google.com/site/jirawatsuntaro/8-rokh-khxng-klwymi

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *