การกำจัดเพลี้ยงแป้ง ในไร่มันสำปะหลังอย่างถูกต้อง

ฟาร์มเกษตร ส่งฟรีถึงบ้าน ชำระปลายทาง

การไถพรวนดินหลายๆครั้ง และตากดินอย่างน้อย 2 สัปดาห์ สามารถลดเพลี้ยแป้งและศัตรูพืชอื่นๆได้เป็นอย่างดี ท่อนพันธุ์ที่นำมาปลูก ต้องสะอาด ปราศจากเพลี้ยแป้ง และเมื่องอกไปสักระยะแล้ว หากสังเกตุเห็น ให้ถอนหรือตัดส่วนที่เป็นเพลี้ยแป้ง ไปทำลายโดยการเผาไฟ

 

การป้องกันเพลี้ยแป้ง ในกรณีที่ยังไม่ระบาด

– ใช้ท่อนพันธุ์ที่สะอาด ปราศจากโรค ไม่มีแมลงเข้าทำลาย

– ไถพรวนดิน และตากอย่างน้อย 14 วัน ทำแปลงให้สะอาด

– แช่ท่อนพันธุ์ ด้วยน้ำยาแช่ท่อนพันธุ์ กู๊ดโซค

 

การแก้ปัญหา เมื่อเพลี้ยแป้งระบาดแล้วในแปลงปลูก

– หากมันสำปะหลัง มีอายุระหว่าง 1-4 เดือน ในกรณีระบาดไม่รุนแรง ให้ตัดยอด ที่พบเพลี้ยแป้ง และนำไปเผาทำลายนอกแปลง ถ้าต้นใดลามมาก อาจจำเป็นต้องถอนทิ้ง และนำไปทำลายนอกแปลง จากนั้น ฉีดพ่นด้วย สารกำจัดเพลี้ย มาคา

– หากพบในช่วงมันสำปะหลัง มีอายุ 5-8 เดือน ให้ตัดยอด ที่พบเพลี้ยแป้งนำไปเผาทำลาย และฉีดพ่น มาคา โดยรอบบริเวณที่พบ

– ในกรณีที่มันสำปะหลัง อายุมากกว่า 8 เดือนแล้ว ให้เร่งเก็บผลผลิต จากนั้นทำความสะอาดแปลง และหากสามารถปลูกพืชอื่นที่ไม่มีเพลี้ยแป้งเป็นศัตรูพืชทดแทนได้ จะเป็นการดี เช่น ข้าวโพด อ้อย หรือ ทานตะวัน

 

การบำรุงมันสำปะหลังให้สมบูรณ์ หลังจากกำจัดเพลี้ย

มันสำปะหลังที่ถูกเพลี้ยเข้าทำลายนั้น อาจจะชะลอการเจริญเติบโต ทำให้กระบวนการสะสมแป้งทำงานได้ไม่เต็มที่ เป็นเหตุให้ การลำเลียงอาหารไปสะสมที่หัวมันสำปะหลัง ทำได้ไม่สมบูรณ์เท่าเดิม มันสำปะหลังจึงอาจจะเสียน้ำหนัก ขนาด และเปอร์เซ็นแป้งลงไป เป็นเหตุให้ผลผลิตเราต่ำลง การบำรุงมันสำปะหลัง ให้กลับมาเจริญเติบโตได้ดี และช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับมันสำปะหลัง ควรใช้ปุ๋ยทางใบ ซึ่งพืชดูดกินได้เร็วกว่าทางดิน และเป็นปุ๋ยที่ประกอบด้วย ธาตุรองธาตุเสริมด้วย เช่น ปุ๋ยน้ำ FK-1 เนื่องจาก ธาตุหลักนั้นทำให้พืชเจริญเติบโต ในขณะที่ธาตุรอง และธาตุเสริม จะช่วยในเรื่องความแข็งแรงของพืช รวมถึงส่งเสริมภูมิต้านทานของพืช ที่มีต่อโรคและแมลง

 

ยาแช่ท่อนพันธุ์ที่แนะนำ

กู็ดโซค ยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง

ยากำจัดเพลี้ยที่แนะนำ

มาคา สารกำจัดแมลงศัตรูพืช

 

ปุ๋ยน้ำ ที่มีทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม

ปุ๋ยน้ำ FK-1 เข้มข้น

รูปภาพเพิ่มเติม

เพลี้ยแป้งสีเทา

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู

เพลี้ยแป้งลาย

เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเขียว

เรียบเรียงโดย FKX.asia

อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพจาก

กรมวิชาการเกษตร doa.go.th

tanthoihiep.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *