มันสำปะหลังใบไหม้ เสียหายได้มาก 30-50% เลยทีเดียว ป้องกันได้อย่างไร?

มันสำปะหลังใบไหม้

โรคมันสำปะหลังใบไหม้ มีสาเหตุจากบักเตรี หากสาเหตุของการใบไหม้นี้ เกิดจาก การที่เรานำ ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่เป็นโรคมาปลูก จะสร้างความเสียหายได้ถึง 30% และหากประกอบด้วยความชื้น มีอุณหภูมิค่อนข้างสูง อาจจะทำความเสียหายได้มากถึง 80% เลยทีเดียว

การระบาดของโรคใบไหม้นี้ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น โรคใบไหม้ที่ติดมากับท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง การชะล้างของน้ำฝน มาทางดิน และเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตร ก็อาจจะติดโรคมาได้เช่นกัน ฉนั้น ควรล้างทำความสะอาดเครื่องมือ หลังใช้งาน หรือก่อนใช้งาน

อาการที่แสดงให้เห็น

ใบของมันสำปะหลัง จะมีจุดเหลี่ยม ฉ่ำน้ำ ใบไหม้ ใบเหี่ยว ยางไหลออกมา อาการยอดเหี่ยว ยอดแห้ง ตายลงมาจากยอด อาการใบไหม้นี้ ยังทำให้ระบบท่อน้ำ ท่ออาหารของต้นมันสำปะหลังเน่า และรากเน่าได้

 

การป้องกันและกำจัด โรคใบไหม้ ในมันสำปะหลัง

โรคใบไหม้ในมันสำปะหลัง นี้เราควรจะป้องกันตั้งแต่เริ่มปลูก และหากพบว่า บริเวณไร่ใกล้เคียง เป็นโรคใบไหม้ ก็ควรฉีดพ่นเพื่อป้องกัน ไม่ให้โรคใบไหม้ ลุกลามสร้างความเสียหาย

การป้องกัน

ป้องกันและกำจัดโรค ที่อาจจะติดมากับท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ด้วยการแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง กับ น้ำยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง กู๊ดโซค ซึ่งเป็นน้ำยาแช่ท่อนพันธุ์ ที่มีคุณสมบัติ ป้องกันโรคที่ติดมากับท่อนพันธุ์ นอกจากนั้น ยังมีคุณสมบัติ เร่งรากมันสำปะหลัง และเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอก

กู๊ดโซค ยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เร่งราก ป้องกันโรค

การกำจัด โรคใบไหม้มันสำปะหลัง

– ฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา ในกรณีที่ระบาดมาก ให้ฉีดพ่นซ้ำทุก 7 วัน อัตราส่วนผสม 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 500 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณ ใช้ยาที่ผสมน้ำแล้ว ฉีดพ่นประมาณ 80 ลิตรต่อไร่

– ฉีดพ่นบำรุงต้นพืช ให้เจริญเติบโตเร็ว ใบเขียว มีความแข็ง และต้านทานต่อโรค ด้วย FK-1 ที่ประกอบด้วยธาตุหลัก NPK เพื่อเร่งการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต และประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จะบำรุงให้พืชแข็งแรง มีภูมิต้านทานต่อโรค และแมลง ผสมในอัตราส่วน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 500 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นยาที่ผสมน้ำแล้ว ในปริมาณ 80 ลิตรต่อไร่ โดยประมาณ

 

ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งเชื้อรา

 

FK-1 ปุ๋ยน้ำเข้มข้น
บำรุงต้นให้สมบูรณ์แข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง

 

อ้างอิง at.doa.go.th/mealybug/disease.htm

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *