โรคมันสำปะหลัง : วิจัยแก้โรคใบไหม้ในมันสำปะหลังมทส.จับมือ ซินโครตรอน

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทย์ฯ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คิดค้นใช้เชื้อแบคทีเรีย สร้างภูมิต้านทานโรคใบไหม้ในมันสำปะหลัง ช่วยเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ลดการใช้สารเคมี สร้างรายได้ให้เกษตรกร

ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน กล่าวว่า “มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถส่งออกและนำรายได้เข้าประเทศสูงเป็นอันดับ 4 ซึ่งจุดเด่นของมันสำปะหลังในด้านการค้าของตลาดโลก คือเป็นพืชไร่ที่มีกระบวนการผลิตที่สะอาดจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นสินค้าสีเขียว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังส่งออกที่สำคัญ คือ มันอัดเม็ด มันเส้น และแป้ง แต่ปัญหาที่พบในการปลูกมันสำปะหลัง เป็นโรคและถูกรบกวนจากแมลงศัตรูพืช โดยเฉพาะโรคใบไหม้ อาการของโรคเริ่มแรกใบจะมีจุดเหลี่ยม ฉ่ำน้ำ ใบไหม้ เหี่ยวและจะหลุดร่วงในที่สุด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง เข้าทำลายและแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในช่วงหน้าฝน มีแนวโน้มการระบาดมากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเกษตรกรยังไม่ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเท่าที่ควร หากพบก็จะนิยมใช้สารเคมีกำจัดโรค ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค รวมถึงเกิดโรคดื้อสารเคมีด้วย ล่าสุดจากผลการวิจัยระหว่าง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ค้นพบการนำท่อนพันธุ์มันสำปะหลังไปแช่ในเชื้อแบคทีเรีย Bacillus amyloliquefaciens ปรากฏว่าสามารถทำให้มันสำปะหลังต่อต้านเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคใบไหม้ได้ นอกจากนั้นยังทำให้ ราก ลำต้น และยอดมันสำปะหลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วอีกด้วย”

โรคใบไหม้มันสำปะหลัง

ลักษณะอาการของโรคใบไหม้มันสำปะหลัง เริ่มแรกแสดงอาการใบจุดเหลี่ยม ฉ่ำน้ำ ใบไหม้ เหี่ยวและจะหลุดร่วงในที่สุด

ด้าน ดร.ณัฐธิญา เบือนสันเทียะ อาจารย์และนักวิจัย สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และศูนย์วิจัยมันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กล่าวเพิ่มเติมว่า “จากการวิเคราะห์เซลล์ของใบมันสำปะหลัง โดยใช้แสงอินฟราเรด สามารถบอกความแตกต่างของใบมันสำปะหลัง ระหว่างก่อนและหลังการชุบท่อนพันธุ์ด้วยแบคทีเรีย พบว่าเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวยังช่วยทำให้ปุ๋ยหรือธาตุอาหารที่สะสมอยู่ในดินเปลี่ยนเป็นสารอาหารที่พืชสามารถดูดนำไปใช้ได้ ส่งผลให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตและแข็งแรง เป็นการเพิ่มปริมาณผลผลิตและแป้งของมันสำปะหลัง”

ดร.กาญจนา ธรรมนู นักวิจัยสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน หนึ่งในผู้วิจัยร่วมได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ทั้งนี้ผลการศึกษาดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยี การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง โดยได้มีการลงพื้นที่เพาะปลูกจริงแล้ว ณ แปลงปลูกมันสำปะหลัง อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ซึ่งพบว่า สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากถึง 30% หลังจากนี้ทางสถาบันจะนำผลการวิจัยไปเผยแพร่ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ลดการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการส่งออกมันสำปะหลังของไทย”

อ้างอิง slri.or.th/th/slriresearch/2013-08-20-09-45-05.html

สินค้าจากฟาร์มเกษตร

ป้องกัน กำจัดโรคใบไหม้ในมันสำปะหลัง ฉีดพ่น ไอเอส

ป้องกัน กำจัดโรคใบไหม้ในมันสำปะหลัง ฉีดพ่น ไอเอส

ฟื้นฟูมันสำปะหลัง เร่งโต ฉีดพ่น FK-1

ฟื้นฟูมันสำปะหลัง เร่งโต ฉีดพ่น FK-1

แช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เร่งราก ป้องกันโรค ด้วย กู๊ดโซค

แช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เร่งราก ป้องกันโรค ด้วย กู๊ดโซค

ระเบิดหัวมันสำปะหลัง เพิ่มขนาด เพิ่มน้ำหนัก FK-3C

ระเบิดหัวมันสำปะหลัง เพิ่มขนาด เพิ่มน้ำหนัก FK-3C

การสั่งซื้อ

โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset ←คลิกเลย
หรือทักแชทที่เพจ ฟาร์มเกษตร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *