หนอนกออ้อย ทำลายอ้อยทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะอ้อยแตกกอทั้งอ้อยปลูกใหม่และอ้อยตอ ระบาดรุนแรงในสภาพที่อุณหภูมิสูง ความชื้นต่ำ ภาวะแห้งแล้งที่เกิดจากฝนทิ้งช่วง
หนอนกออ้อย ที่สำคัญที่พบเข้าทำลายอ้อย มี 3 ชนิด คือ หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอสีขาว และหนอนกอสีชมพู
หนอนกอลายจุดเล็ก
หนอนเจาะเข้าไปตรงส่วนโคนระดับผิว ดิน เข้าไปกัดกินส่วนที่กำลังเจริญเติบโต ภายในหน่ออ้อย ทำให้ยอดแห้งตาย การเข้าทำลายของหนอนกอลายจุดเล็กจะทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง 5-40 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้หนอนยังเข้าทำลายอ้อยใน ระยะอ้อยย่างปล้อง โดยหนอนเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในลำต้นอ้อย ซึ่งทำให้อ้อยแตกแขนงใหม่ และแตกยอดพุ่ม
หนอนกอสีขาว
หนอนเจาะไชจากส่วนยอดเข้าไปกัดกินส่วนโคนยอดที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ยอด แห้งตายโดยเฉพาะใบที่ยังม้วนอยู่ ส่วนใบยอดอื่นๆ ที่หนอนเข้าทำลายจะมีลักษณะหงิก งอ และมีรูพรุน เมื่ออ้อยมีลำแล้วหนอนจะเข้าทำลายส่วนที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ไม่ สามารถสร้างปล้องอ้อยให้สูงขึ้นไปได้อีก ตาอ้อยที่อยู่ต่ำกว่าส่วนที่ถูกทำลายจะ แตกหน่อขึ้นมาทางด้านข้าง เกิดอาการ แตกยอดพุ่ม
หนอนกอสีชมพู
หนอนเจาะเข้าไปตรงส่วนโคนของหน่ออ้อย ระดับผิวดิน เข้าไปทำลายส่วนที่กำลัง เจริญเติบโตภายในหน่ออ้อย ทำให้ยอด แห้งตาย ถึงแม้หน่ออ้อยที่ถูกทำลายจะสามารถแตกหน่อใหม่เพื่อชดเชยหน่ออ้อยที่เสียไป แต่หน่ออ้อยที่แตกใหม่เพื่อชดเชยในระยะหลังจะมีอายุสั้นลง ทำให้ผลผลิตและคุณภาพของอ้อยลดลง
แนวทางการแก้ไขการระบาดของ หนอนกออ้อย
- ในแหล่งชลประทาน ควรให้น้ำเพื่อให้อ้อยแตกหน่อชดเชย
- ปล่อยแตนเบียนไข่ไตรโคแกรมมา อัตรา 30,000 ตัว/ไร่/ครั้ง ปล่อยติดต่อกัน 2-3 ครั้ง ในช่วงที่พบกลุ่มไข่ของหนอนกอ
- เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน หรือเมื่ออ้อยแสดงอาการยอดเหี่ยว 10% หรือพบการระบาดของ หนอนกออ้อย ควรพ่น ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์ป้องกันกำจัดหนอนกอ อัตรา 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร พ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน
อ้างอิง doa.go.th/fc/nakhonsawan/?p=2795
ไอกี้-บีที ใช้ฉีดพ่น เพื่อกำจัดหนอนกออ้อย กำจัดหนอนต่างๆ เป็นสารชีวินทรีย์ ปลอดภัยต่อผู้ใช้ ต่อผู้บริโภคและปลอดภัยต่อสัตว์เลี้ยง ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อฟื้นฟูอ้อย จากการเข้าทำลายของหนอน เร่งโต แตกกอ ย่างปล้อง
การสั่งซื้อ
โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset ←คลิกเลย
หรือทักแชทที่เพจ ฟาร์มเกษตร