อ้อยใบเหลือง อ้อยใบซีด เหลืองซีดเป็นหย่อมๆ ลักษณะนี้เป็นอาการของ อ้อยขาดธาตุอาหาร

ปัจจัย 3 ประการสำคัญ ที่ก่อให้เกิดโรคพืช และสร้างความเสียหายต่อผลผลิต

1 ความอ่อนแอของพืช ต่อการเกิดโรค

2 ความรุนแรงของเชื้อโรคพืช

3 สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรด ความเป็นด่างของดิน และปัจจัยอื่นๆอีกมาก

หากพืชมีความอ่อนแอ ความรุนแรงของโรคก็จะมาก การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืช ก็เข้าทำลายได้มากเช่นกัน บวกกับสภาพแวดล้อม อุณหภูมิ สภาพอาการ ที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรค และแมลงศัตรูพืช จะยิ่งทวีความรุนแรง สร้างความเสียหายต่อพืช ส่งผลกระทบไปถึงผลผลิต ที่จะเสียหาย และได้ผลผลิตน้อยลงไปเป็นอย่างมาก

อาการอ้อยใบเหลือง อ้อยใบซีดเป็นหย่อมๆ เป็นลักษณะอาการขาดธาตุอาหารของอ้อย บ่งชี้ให้เห็นว่า อ้อยไม่แข็งแรง มีความอ่อนแอ โรคพืชต่างๆ ที่เกิดจารเชื้อรา โรคใบไหม้ โรคใบเหี่ยว โรคใบขีดสีน้ำตาล และโรคต่างๆ ก็พร้อมที่จะเกิดกับอ้อยในไร่ ได้ตลอดเวลา

 

การสังเกตุอาการเบื้องต้นว่าอ้อยขาดธาตุอะไร

อ้อยใบเหลือง ซีด อ้อยโตช้ากว่าปกติ หรือชะงักการเจริญเติบโต สันนิษฐานว่า อ้อยขาดธาตุไนโตรเจน

อ้อยมีอาการเหลืองตามเส้นใบ มีอาการตายเฉพาะจุด สันนิษฐานว่า อ้อยขาดธาตุเหล็ก หรือ อ้อยขาดธาตุโปแตสเซียม

อ้อยตายเฉพาะส่วนในใบใหม่ อ้อยการชะงักการเติบโต สันนิษฐานว่า อ้อยขาดธาตุโบรอน

อ้อยมีจุดด่างบนใน มีสีใบผิดเพี้ยน สันนิษฐานว่า อ้อยขาดธาตุแมงกานิส

อ้อยชะงักการเจริญเติบโตของใบ สันนิษฐานว่า อ้อยขาดธาตุสังกะสี

 

สารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช สามารถแบ่งตามปริมาณที่ปรากฏในเนื้อเยื่อพืช ได้เป็น

1. ธาตุอาหารหลัก (primary macronutrients) ได้แก่ ไนโดรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), และ โพแทสเซียม (K)

2. ธาตุอาหารรอง (secondary macronutrients) ได้แก่ แคลเซียม (Ca),แมกนีเซียม (Mg), และ ซัลเฟอร์(กำมะถัน) (S)

3. ธาตุรอาหารเสริม (micronutrients) ได้แก่ แมงกานีส (Mn),คอปเปอร์ (ทองแดง) (Cu),คลอรีน (Cl), เฟอรัส (เหล็ก) (Fe), โบรอน (B), ซิงค์ (สังกะสี) (Zn), โมลิบดินัม (Mo)

 

การบำรุงอ้อยให้เจริญเติบโต อ้อยมีความแข็งแรง

จะทำให้ต้านทานต่อโรค และแมลงศัตรูพืช เจริญเติบโตเร็ว มีความสมบูรณ์ แข็งแรง ต้องให้ปุ๋ยที่มีสารอาหารครบถ้วน ประกอบด้วย ธาตุหลัก ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และต้องมี ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จะเสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรงให้กับอ้อย เพื่อให้ต้นอ้อย ต้านทานต่อโรคและแมลง

 

สำหรับอ้อย ระยะงอก-ระยะแตกกอ (Germination Stage – Tillering Phase) เดือนที่ 1 จนถึงเดือนที่ 4 ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำ FK-1 (เอฟเค-1) ที่ประกอบด้วยธาตุหลัก N-P-K = 20-20-20 ซึ่งมี ไนโตรเจน 20% ฟอสฟอรัส 20% โปแตสเซียม 20% ซึ่งสูงเพียงพอต่อความต้องการของอ้อย เพื่อใช้ในการเร่งการเจริญเติบโต และยังประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ต่างๆข้างต้นที่ได้กล่าวมา เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรค และแมลงศัตรูอ้อย ทำให้อ้อยเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง 

สำหรับอ้อยระยะการเจริญเติบโต (Grand Growth Phase) ประมาณเดือนที่ 5 จนถึงเดือนที่ 8  ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำ FK-3S (เอฟเค-3เอส) ที่ประกอบด้วยธาตุหลัก N-P-K = 5-10-40 ซึ่งมี ไนโตรเจน 5% ฟอสฟอรัส 20% โปแตสเซียม 40% จะสังเกตุได้ว่า เน้นหลักที่ธาตุโปแตสเซียม มากว่าธาตุอื่นๆ เพระโปแตสเซียมนี้ จะช่วยส่งเสริมกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล ไปสะสมในลำอ้อย จะทำให้อ้อยมีคุณภาพดี มีน้ำหนักดี มีเปอร์เซ็นต์ความหวาน หรือค่า CCS ที่สูงขึ้น และยังประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรค และแมลงศัตรูอ้อย ทำให้อ้อยเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง 

 

ปุ๋ยน้ำเข้มข้น FK-1 บำรุงต้น เร่งการเจริญเติบโต

 

ปุ๋ยน้ำเข้มข้น FK-3S สำหรับอ้อย เร่งน้ำหนัก เร่งความหวาน เร่ง CCS

 

 

อ้างอิงจาก

kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php? book=7&chap=4&page=t7-4-infodetail01.html

th.wikipedia.org/wiki/สารอาหารสำหรับพืช

agropedia.iitk.ac.in/content/sugarcane-growth-stages

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *