โรคที่เกิดกับอ้อย พันธุ์ขอนแก่น 3

โรคอ้อย ยารักษาโรคอ้อย

วันนี้มีเรื่องการรับมือกับโรคร้ายที่เกิดกับอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 มาฝากกัน อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 นี้ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็มีแต่คนปลูก แทบจะ 80% ของพื้นที่ปลูกอ้อยในประเทศไทยก็ว่าได้ เหตุผลคือ ขอนแก่น 3 ให้ผลผลิตสูงถึง 15-20 ตันต่อไร่ ให้ความหวาน 12-14 ซีซีเอส ที่สำคัญคือ ทนแล้ง และไว้ตอดี แต่พอมีพื้นที่ปลูกมาก และปลูกเป็นเวลานาน ก็เกิดการสะสมโรคในท่อนพันธุ์ เช่น โรคใบขาว หรือโรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการระบาดเช่น โรคเหี่ยวเน่าแดง โรคแส้ดำ โรคเน่าคออ้อย และโรคใบจุดวงแหวน เป็นต้น ซึ่งแต่ละโรคมีรายละเอียด ดังนี้

โรคใบขาว (White leaf disease)

โรคอ้อยใบขาว
โรคอ้อยใบขาว ภาพจาก ocsb.go.th

เป็นโรคหลักสำหรับอ้อยในประเทศไทย โดยเฉพาะกับพื้นที่ปลูกอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือพื้นที่ปลูกอ้อยในเขตดินทราย มีเพลี้ยจั๊กจั่นเป็นแมลงพาหะ โรคนี้จะติดไปกับท่อนพันธุ์ ซึ่งบางครั้งไม่แสดงอาการ จนกว่าลำที่มีเชื้อจะงอกขึ้นมา และแสดงอาการของโรคใบขาว ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้

แนวทางป้องกันที่มิตรชาวไร่จะทำได้คือ ใช้ท่อนพันธุ์ที่สะอาด ปราศจากโรคมาปลูก บำรุงรักษาอ้อยให้มีความแข็งแรง บำรุงดินให้มีความสมบูรณ์ มีการพักดินและปลูกพืชบำรุงดินเพื่อการตัดวงจรโรค เนื่องจากอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 มีพื้นที่ปลูกมาก และปลูกเป็นระยะเวลานาน จึงมีการสะสมเชื้อโรคในลำอ้อยมากขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง

โรคแส้ดำ (Smut disease)

โรคแส้ดำ ในอ้อย
โรคแส้ดำ ในอ้อย ภาพจาก ippc.acfs.go.th/

เชื้อของโรคนี้อาศัยอยู่ในทุกส่วนของพืช ติดอยู่กับตอเก่าในแปลง ท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคจะปล่อยผงสปอร์ปลิวติดไปกับลมและฝน นอกจากนั้น เชื้อราจะอาศัยอยู่ในดิน ซึ่งทนอยู่ในเขตแห้งแล้งได้นาน อ้อยที่ติดโรคจะมีส่วนยอดผิดปกติเป็นก้านแข็งยาวคล้ายแส้สีดำ ตออ้อยที่เป็นโรครุนแรงจะแตกหน่อมาก และแคระแกรนคล้ายตอตะไคร้ ทุกยอดจะสร้างแส้ดำ แล้วแห้งตายทั้งกอ สาเหตุที่เกิดโรคนี้กับอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 มากขึ้น เนื่องจากพื้นที่ปลูกอ้อยพันธุ์นี้มีมาก ทำให้ในบางปีที่สภาพแวดล้อมเหมาะสม หรือมีความชื้นสูงในพื้นที่ปลูกอ้อย รวมถึงขาดการบำรุงรักษาอ้อย ก็จะทำให้เกิดโรคแส้ดำระบาดได้

แนวทางป้องกันคือ ต้องขุดกออ้อยที่เป็นโรคออกเพื่อทำลายทิ้งให้สิ้นซาก แล้วพักดินปลูกถั่วเพื่อตัดวงจรของโรค

โรคเน่าคออ้อย (Bacteriosis)

โรคเน่าคออ้อย
โรคเน่าคออ้อย ภาพจาก kubotasolutions.com

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะของอ้อยที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะมีใบเหลือง ยอดแห้ง ภายในลำอ้อยเน่าฉ่ำน้ำ จากยอดลงมาด้านล่างของลำ มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว เนื้ออ้อยบริเวณยอดเน่าเละ เห็นท่อน้ำท่ออาหารเป็นเส้น ยอดอ้อยหักพับ ลำอ้อยเปราะ ปล้องอ้อยหลุดจากกันได้ง่าย

โรคนี้พบมากขึ้นในพันธุ์ขอนแก่น 3 ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง เช่น พื้นที่ติดภูเขา แนะนำให้ขุดอ้อยที่เป็นโรคไปทำลาย ลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน และพักดินเพื่อทำลายเชื้อสาเหตุของโรค

โรคใบจุดวงแหวน

โรคใบจุดวงแหวน อ้อย
โรคใบจุดวงแหวน อ้อย ภาพจาก ocsb.go.th

อ้อยที่เป็นโรค เริ่มแรกเป็นจุดสีเขียวชุ่มน้ำ แล้วเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ขอบสีน้ำตาล หรือจุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ ตรงกลางมีสีขาว ลักษณะคล้ายรูปไข่ ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง และมีสีเหลืองล้อมรอบ (halo) เมื่อแผลขยายใหญ่ขึ้น ภายในแผลก็จะแห้ง สีคล้ายฟางข้าว และขอบแผลเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม เมื่อเกิดแผลจำนวนมากติดต่อกัน ใบจะไหม้เป็นบริเวณกว้าง แต่ยังมีขอบล้อมรอบแต่ละแผลอยู่เช่นเดิม พบโรคนี้ในพันธุ์ขอนแก่น 3 ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง พื้นที่ภูเขา แนวทางแก้ไขคือการพักดินปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อตัดวงจรโรคอีกเช่นกัน

จากภาพรวมจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันพบการระบาดของ 4 โรคอ้อยนี้ ในพันธุ์ขอนแก่น 3 เพิ่มมากขึ้น ซึ่งแนวทางป้องกันแก้ไขหลัก ๆ เลยคือ การพักดิน และปลูกพืชบำรุงดินเพื่อตัดวงจรโรค

อ้างอิง mitrpholmodernfarm.com/news/2018/04/4-โรคร้ายที่เกิดกับอ้อยพันธุ์ขอนแก่น-3

มาคา ใช้เพื่อ ป้องกันกำจัด เพลี้ยจักจั่น แมลงพาหะของโรคอ้อยใบขาว และเพลี้ยต่างๆ

มาคา ใช้เพื่อ ป้องกันกำจัด เพลี้ยจักจั่น แมลงพาหะของโรคอ้อยใบขาว และเพลี้ยต่างๆ

ไอเอส ใช้เพื่อ ป้องกันกำจัด โรคอ้อยต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น อ้อยใบไหม้ โรคแส้ดำ โรคใบจุด ราสนิม

ไอเอส ใช้เพื่อ ป้องกันกำจัด โรคอ้อยต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น อ้อยใบไหม้ โรคแส้ดำ โรคใบจุด ราสนิม

ไอกี้-บีที ใช้เพื่อ ป้องกันกำจัด หนอนกออ้อย หนอนต่างๆ

ไอกี้-บีที ใช้เพื่อ ป้องกันกำจัด หนอนกออ้อย หนอนต่างๆ

FK-1 ฟื้นฟูอ้อย บำรุง เร่งโต เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง

FK-1 ฟื้นฟูอ้อย บำรุง เร่งโต เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง

FK-3S ใช้เพื่อ เพิ่มผลผลิตอ้อย เพิ่ม CCS อ้อยย่างปล้องไว น้ำหนักดี

FK-3S ใช้เพื่อ เพิ่มผลผลิตอ้อย เพิ่ม CCS อ้อยย่างปล้องไว น้ำหนักดี

การสั่งซื้อ

โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset ←คลิกเลย
หรือทักแชทที่เพจ ฟาร์มเกษตร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *