โรคแส้ดำ ในอ้อย อ้อยจะแคระแกรนคล้ายกอตะไคร้ แล้วแห้งตาย แก้ด้วย ไอเอส.

โรคแส้ดำที่เกิดกับอ้อย (SMUT)

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Ustilago scitaminea เชื้อโรครานี้ อาศัยอยู่ได้ในทุกส่วนของต้นอ้อย ติดอยู่กับตอเก่า และอาจจะติดกับท่อนพันธุ์ที่นำมาปลูก และสามารถระบาดได้โดยการที่ผงสปอร์จาก อ้อยที่เป็นโรคแส้ดำ ปลิวไปติดต้นอื่นๆ

โรคแส้ดำ เข้าทำลายอ้อย ลดผลผลิต หรืออ้อยอาจจะตายได้

ส่วนยอดจะดูเป็นก้านแข็งยาว คล้ายๆแส้สีดำ ในส่วนของตออ้อย ถ้าเป็นโรคนี้รุนแรง จะแตกหน่อมาก แคระแกรน ดูคล้ายกอตะไคร้ ยอดทุกยอดจะดูเป็นแส้สีดำ จากนั้นจะแห้งตายทั้งกอ ผลผลิตจะลดลงมาก ในตอถัดไป และเช่นเดียวกัน ความรุนแรงจะเสียหายมากขึ้นในตอถัดไป หากไม่เร่งรักษา

 

การป้องกันและกำจัดโรคแส้ดำ

– เลือกใช้ท่อนพันธุ์ที่ต้านทานต่อโรคแส้ดำ เช่น อู่ทอง 1, อู่ทอง 2, อู่ทอง 3 เป็นต้น

– ท่อนพันธุ์ที่นำมาปลูกใหม่ ตรวจสอบให้ชัดเจนว่า ไม่ได้เป็นท่อนพันธุ์ที่มาจากแหล่งที่มีโรคระบาด

– ในพื้นที่ ที่มีการระบาด ให้ฉีดพ่นด้วย ยาป้องกันและกำจัดเชื่อรา IS ในอัตราส่วน 50 cc ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วไร่ โดยในหนึ่งไร่ อาจต้องฉีดพ่นรวมประมาณ 80 ลิตร หรือ 4 เป้ จะทั่วถึง

– ฉีดพ่นด้วย ปุ๋ยน้ำ FK-1 ที่ประกอบด้วยธาตุหลัก N P K ที่จะช่วยฟื้นฟูต้นอ้อย ให้กลับมาเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และ FK-1 ยังประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อพืช ช่วยในการสร้างความแข็งแรง และสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง ไม่ให้กลับเข้ามาทำลายต้นอ้อยได้อีก

 

 

อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพจาก
– agriqua.doae.go.th
– apsnet.org

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *