โรคถั่วเหลือง และการป้องกันกำจัดโรค

โรคราสนิมถั่วเหลือง (soybean rust)

โรคราสนิม (soybean rust) พบระบาดในฤดูฝน
เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Phakopsora pachyrhizi
ลักษณะอาการ อาการเริ่มแรกพบบนใบจริงคู่แรกเมื่อถั่วเหลืองอยู่ในระยะฝักอ่อน โดยพบเป็นแผลจุดเล็ก ๆ สีน้ำตาลแดง ใต้ใบมีขุยสีน้ำตาลแดงของสปอร์ของเชื้อราคล้ายสีสนิม สปอร์จะฟุ้งขึ้นไปยังส่วนบน ๆ ทำให้ใบแห้งเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองและสีน้ำตาลใบร่วงก่อนกำหนด ฝักลีบเล็กและผลผลิตลดลง 20-80 เปอร์เซ็นต์
การแพร่ระบาด เชื้อราระบาดโดยสปอร์ที่พัดมากับลม และฝน การระบาดพบรุนแรงในช่วงฝนตกติดต่อกันและอากาศเย็น
การป้องกันกำจัด
1. ใช้ถั่วเหลืองพันธุ์ต้านทาน เช่น สุโขทัย 1 สุโขทัย 2 เชียงใหม่ 60
2. ไม่ปลูกถั่วเหลืองซ้ำที่ติดต่อกันหากพบการระบาดของโรคในระยะออกดอก ควรพ่นสารเคมี แมนโคเซบ หรือ โปรปิโคนาโซล ทุก 5-7 วัน จนถั่วเหลืองมีเมล็ดเต็มฝัก หรือโรคหยุดการระบาด

โรคถั่วเหลืองเน่าดำ (Charcoal rot)

โรคเน่าดำ (Charcoal rot) พบระบาดในฤดูฝน
เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Macrophomina phaseolina
ลักษณะอาการ เชื้อราที่ติดมากับเมล็ดหรืออาศัยในดินจะงอกเข้าในต้นพืชได้ตั้งแต่ระยะกล้า และเจริญเติบโตในส่วนของท่อลำเลียงน้ำและอาหารของพืชได้นาน จนถึงระยะต้นถั่วเหลืองติดฝักและระยะสร้างฝัก เชื้อราจะผลิตเมล็ดสเคอโรเตียมลักษณะคล้ายผงถ่านในบริเวณส่วนที่อาศัยอยู่ทำให้เกิด การอุดตันของท่อลำเลียงเป็นสาเหตุของการเหี่ยวและแห้งตาย ลักษณะการเหี่ยวจะค่อย ๆ เกิดทีละน้อย โดยในระยะเริ่มต้นของการเหี่ยวจะสังเกตได้ยากมักพบอาการเมื่อต้นถั่วเหลืองแสดงอาการใบเหลือง ปลายใบแห้งและยืนต้นตาย พันธุ์ถั่วเหลืองที่อ่อนแอจะแสดงการเหี่ยวและตายตั้งแต่ระยะเมล็ดยังไม่เต็มฝัก ทำให้ผลผลิตลดลงอย่างมาก พันธุ์ถั่วเหลืองค่อนข้างต้านทานจะพบว่าเมล็ดเล็กลงและผลผลิตลดลง
การแพร่ระบาด เชื้อราติดมากับเมล็ด และอาศัยในเศษซากพืชได้เป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
1. เตรียมแปลงให้มีการระบายน้ำดี
2. ใช้เมล็ดพันธุ์จากในแหล่งที่ไม่มีการระบาดของโรค ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ติดมากับเมล็ด และมีความงอกสูง
3. ก่อนปลูกคลุกเมล็ดถั่วเหลืองด้วยสารเคมี เช่น แมนโคเซบ โปรปิโอเนบ อัตรา 7-10 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
4. ใช้พันธุ์ถั่วเหลืองต้านทานโรค
5. ปลูกพืชหมุนเวียน

โรคแอนแทรคโนส ถั่วเหลือง (Anthracnose)

โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) พบระบาดในฤดูฝน
เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Colletotrichunm dematum
ลักษณะอาการ โดยทั่วไปพบอาการบนใบและฝัก อาการที่พบบนใบในระยะแรกพบแผลจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก 2-3 มิลลิเมตร แผลจุดจะมีวงสีเหลืองล้อมรอบและเรียงต่อกันเป็นจุดประแตกไปตามเส้นกลางใบ เส้นแขนงและกระจัดกระจายไปตามพื้นที่ใบเป็นกลุ่ม ๆ คล้ายรอยเปรอะเปื้อนของน้ำหมากทำให้พื้นที่ใบซีดเหลือง (Chlorosis) ถ้าสภาพกาอากาศร้อนชื้น จะพบแผลจุดเกิดขึ้นที่กิ่งก้านและลำต้นเชื้อที่เข้าทำลายเส้นกลางใบของใบอ่อน จะทำให้ใบย่นหงิกงอเนื่องจากเส้นกลางใบถูกทำลายไม่ยืดตัว จึงทำให้ส่วนของพื้นที่ใบที่ขยายตัวไปหงิกงอ อาการที่พบบนฝักจะเกิดเป็นจุดสีน้ำตาลเรียงต่อกัน เป็นรอยขีดบนฝักหรือเป็นกลุ่ม เมื่อแผลได้รับความชื้นสูง จะแผลจะขยายใหญ่ เป็นวงซ้อนกัน และพบ canidia และ acervuli เกิดขึ้นบนรอยแผลนั้น เมล็ดในฝักจะลีบและย่น
การแพร่ระบาด เชื้อราสาเหตุโรคแอนแทรคโนสสามารถเข้าทำลายถั่วเหลฝืองได้ทุกระยะการเจริญเติบโต โรคนี้จะระบาดได้ดีในสภาพที่มีความชื้นสูง ทำให้ใบเหลืองร่วง ฝักเป็นแผล เมล็ดลีบ อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดของเชื้ออยู่ระหว่าง 28-34 องศาเซลเซียส เชื้อราติดมากับเมล็ดและระบาดไปกับเมล็ดพันธุ์ได้ดี
การป้องกันกำจัด
1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์จากแหล่งที่ไม่มีโรคระบาด
2. ทำความสะอาดแปลงปลูก ไม่ปลูกถั่วเหลืองชิดเกินไปทำให้ความชื้นในแปลงสูง
3. ปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน
4. ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรค ได้แก่ แมนโคเซบ เบนโนมิล และมายโคบิวทานิล แมนโคเซบ

โรคถั่วเหลืองใบจุดวง (Target spot)

โรคใบจุดวง (Target spot) พบระบาดในฤดูฝน
เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Corynespora casiicola
ลักษณะอาการ พบรอยแผลเป็นจุดวงซ้อน ๆ กัน ขนาดค่อนข้างใหญ่บนใบถั่วเหลืองใบล่าง ๆ โดยเฉพาะในพุ่มของทรงต้น อาจพบเชื้อสาเหตุได้บนกิ่ง ลำต้นและฝัก
การแพร่ระบาด เชื้อราติดมากับเมล็ด งอกเข้าทำลายพืชตั้งแต่เมล็ดถั่วเหลืองเริ่มงอก แล้วจึงปรากฏอาการในช่วงที่มีฝนตกชุก ความชื้นสูงติดต่อกันนาน ๆ และพบรุนแรงในพันธุ์ที่อ่อนแอ ลมและฝนเป็นพาหะนำโรคไปยังแหล่งระบาดใหม่ ๆ
การป้องกันกำจัด
1. ใช้ถั่วเหลืองพันธุ์ต้านทาน เช่น สุโขทัย 1 สุโขทัย 2
2. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากแหล่งไม่เป็นโรค มีความงอกสูง
3. ก่อนปลูกคลุกเมล็ดถั่วเหลืองด้วยสารเคมี เช่น เมตาแลกซิล อัตรา 7-10 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
4. ไถพรวนกลบเศษซากพืชให้ลึก ๆ
5. หากพบการระบาด ใช้สารเคมี เช่น แมนโคเซบ โปรปิโอเนบ หรือ คาร์เบนตาซิม พ่นทุก 7 วัน 1-2 ครั้งต่อฤดู ในระยะที่พบโรครุนแรง

โรคเมล็ดถั่วเหลืองสีม่วง (Purple seed stain)

โรคเมล็ดสีม่วง (Purple seed stain) พบระบาดในฤดูฝน
เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Cercospora kikuchii
ลักษณะอาการ อาการบนเมล็ดมีสีชมพู ม่วง ถึงม่วงเข้ม ทั่วไปบนผิวเปลือกของเมล็ด ถ้ารอยสีม่วงครอบคลุมเกินครึ่งหนึ่งของพื้นผิวเมล็ด เมล็ดถั่วเหลืองจะเสียความงอก แต่ถ้าพบเพียงส่วนน้อยเมล็ดจะสามารถงอกได้แต่ต้นกล้าจะไม่แข็งแรง และเป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อราสาเหตุได้ ต่อไปอาจพบว่าเปลือกเมล็ดมีรอยแตกซึ่งจะทำให้เชื้อราชนิดอื่นเข้าทำลายได้ง่ายไม่เหมาะที่จะใช้เป็นเมล็ดพันธุ์
การแพร่ระบาด เชื้อราที่ติดมากับเมล็ดเจริญเข้าไปในกลีบเลี้ยงและสร้างส่วนขยายพันธุ์ที่ปลิวไปได้ในอากาศระบาดทางน้ำฝนและน้ำชลประทาน เมื่อสปอร์ของเชื้อราเข้าสู่ดอก จะเจริญเข้าไปอาศัยบนเปลือกหุ้มเมล็ดและทำให้เกิดโรคระบาดได้ต่อไป
การป้องกันกำจัด
1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากแหล่งไม่เป็นโรค มีความงอกสูง
2. ก่อนปลูกคลุกเมล็ดถั่วเหลืองด้วยสารเคมี เช่น เมนโคเซบ อัตรา 7-10 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
3. แปลงถั่วเหลืองที่ใช้ผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ควรพ่นด้วยสารเคมี เช่น เมนโคเซบ โปรปิโอเนบ หรือ คาร์เบนดาซิม พ่น ทุก 7 วัน 1-2 ครั้งในระยะออกดอกและติดฝักอ่อน

โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง (Downy mildew)

โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) พบระบาดในฤดูแล้ง
เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Peronospora manshurica
ลักษณะอาการ อาการจุดฉ่ำน้ำสีเขียวอ่อน ที่พบบนใบเริ่มตั้งแต่ใบจริงคู่แรกเมื่อต้นถั่วเหลืองงอกได้ประมาณ 15 วัน เกิดจากเชื้อราที่ติดมากับเมล็ด เชื้อราผลิตเส้นใยฟูใต้รอยแผลทางด้านใต้ใบสีขาวปนเทาและสร้างส่วนขยายพันธุ์เป็นสปอร์ใส ไม่มีสี สปอร์ของเชื้อรานี้จะระบาดขึ้นใบยังใบอ่อนที่เกิดขึ้นใหม่ การระบาดเกิดขึ้นได้ดีในสภาพอากาศเย็นและชื้น รอยแผลที่เก่ามากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและเป็นสีน้ำตาลแห้งกรอบ ใบจะร่วงเร็วกว่าปกติ ถั่วเหลืองฝักสดและถั่วเหลืองนครสวรรค์ 1อ่อนแอต่อโรคนี้
การแพร่ระบาด เชื้อราติดมากับเมล็ด แพร่ระบาดโดยลม น้ำฝน
การป้องกันกำจัด
1. ใช้ถั่วเหลืองพันธุ์ต้านทาน เช่น สุโขทัย 1 สุโขทัย 2 เชียงใหม่ 2 เชียงใหม่ 60
2. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากแหล่งไม่เป็นโรค มีความงอกสูง
3. ก่อนปลูกคลุกเมล็ดถั่วเหลืองด้วยสารเคมี เช่น เมตาแลกซิล อัตรา 7-10 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
4. ไถพรวนกลบเศษซากพืชให้ลึก ๆ
5. หากพบการระบาด ใช้สารเคมี เช่น เมนโคเซบ โปรปิโอเนบ คลอโรทาโลนิล หรือเมตาแลกซิลผสมแมนโคเซบ พ่น ทุก 7 วัน 2-3 ครั้งต่อฤดู ในระยะที่พบโรครุนแรง

โรคถั่วเหลืองใบติด (Wet rot/Web blight)

โรคใบติด (Wet rot/Web blight) พบระบาดในฤดูฝน
เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Rhizoctonia solani
ลักษณะอาการ มองเห็นเส้นใยสีขาวของเชื้อราเจริญบนใบ ในพุ่มถั่วเหลืองที่มีความชื้นสูง เส้นใยเจริญปกคลุมบนใบและลามต่อไปยังใบข้างเคียงเกิดเป็นร่างแหคล้ายใยแมงมุม และดึงใบที่อยู่ใกล้กันมาติดกันเป็นกลุ่ม ใบที่เป็นโรคจะเหี่ยวและแห้งตาย เมื่อเชื้อราเจริญขึ้นไปถึงใบยอดต้นถั่วเหลืองจะยุบลงและตายเป็นหย่อม ๆ
การแพร่ระบาด เชื้อราอาศัยอยู่ในดินและเศษซากพืช ถูกแรงกระแทกของน้ำฝนกระเด็นขึ้นไปบนใบถั่วเหลืองระดับล่าง ๆ เมื่อเชื้อราแก่และหมดอาหาร เส้นใยจะมัดรวมกันเป็นเม็ดเล็ก ๆ แข็ง ๆ รูปร่างไม่แน่นอน อาศัยอยู่ในดินได้นาน และรอเข้าทำลายต้นถั่วเหลืองในฤดูต่อไป
การป้องกันกำจัด
1. เตรียมแปลงปลูกโดยการไถตามหน้าดินก่อนปลูก
2. ปลูกพืชหมุนเวียน
3. อย่าปลูกถั่วเหลืองแน่นเกินไป
4. ตัดต้นถั่วเหลืองที่แสดงอาการออก นำไปทำลาย โดยการเผาไฟ

โรคใบจุดถัวเหลือง ที่เกิดจากเชื้อราสาเหตุต่าง ๆ

เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Alternaria alternata เชื้อรา Cercospora sojae
ลักษณะอาการ จุดแผลบนใบสีน้ำตาลอมแดง ค่อนข้างเหลี่ยมไปตามขอบของเส้นใบ เมื่อรอยแผลมีอายุมากขึ้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม แผลแห้งยุบตัวและสร้างสปอร์ของเชื้อรา ระบาดได้ทางลมการแพร่ระบาด เชื้อราติดมากับเมล็ด อาการในแปลงปลูกเกิดจากการระบาดโดยน้ำฝน ลมและแมลง
การป้องกันกำจัด
1. ใช้ถั่วเหลืองพันธุ์ต้านทาน
2. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากแหล่งไม่เป็นโรค มีความงอกสูง
3. ก่อนปลูกคลุกเมล็ดถั่วเหลืองด้วยสารเคมี เช่น คาร์เบนดาซิม อัตรา 7-10 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม

ไอเอส ยารักษาโรคถั่วเหลืองต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

ไอเอส ยารักษาโรคถั่วเหลืองต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ปุ๋ยฉีดพ่นบำรุงถั่วเหลือง

FK-1 ปุ๋ยฉีดพ่นบำรุงถั่วเหลือง

การสั่งซื้อ

โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset ←คลิกเลย
หรือทักแชทที่เพจ ฟาร์มเกษตร

อ้างอิง

arda.or.th/kasetinfo/north/plant/soy_disease.html

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *