บทความเกี่ยวกับ ห่วงโซ่อุปทานของ iPhone จาก สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส
Allan Golombek เป็น Senior Director ที่ White House Writers Group ได้เขียนบทความที่น่าสนใจดังนี้ การที่กลุ่ม Protectionists มอง iPhone ว่าเป็นการสิ้นสุดของความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และจีนกลายเป็นผู้ถือครองเศรษฐกิจโลก มุมมองดังกล่าวเป็นการมองโลกในอดีต หากมองให้เป็นปัจจุบันไอโฟนคือสัญลักษณ์ของความรุ่งเรืองของเศรษฐกิจโลกที่ส่วนใหญ่แล้วมีสหรัฐฯ เป็นรากฐานสำคัญ
โลกในอดีต สินค้าจะถูกออกแบบ พัฒนา ผลิต และประกอบขึ้นในประเทศเพียงประเทศเดียวก่อนการส่งออกไปจำหน่ายในอีกประเทศหนึ่ง แต่โลกปัจจุบันเป็นโลกของห่วงโซ่อุปทานข้ามพรมแดน มีสินค้าเพียงไม่กี่รายการที่ผลิตตั้งแต่ต้นจนจบภายในประเทศเดียว เพียงหนึ่งในสี่ของสินค้าที่ค้าขายกันทั่วโลกเท่านั้นที่เป็นสินค้าที่ผลิตสำเร็จรูป ที่เหลือสามในสี่ประกอบไปด้วยสินค้าและบริการที่เป็น intermediate ที่จะถูกนำไปใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป
บ่อยครั้งที่ป้ายที่ระบุว่า “Made in China” แสดงว่ามันถูกประกอบขึ้นในจีน ป้ายที่แท้จริงควรจะอ่านได้ว่า “Made in China, and Malaysia, and Japan, and Korea, and Europe, Canada and Israel และมีโอกาสสูงมากว่าจะรวมถึง Made in the United States”
ในอดีตมีการกล่าวถึงการส่งออกในฐานะเป็นคู่แข่งขันกับการนำเข้า แต่ปัจจุบันเป็นการยากที่จะระบุว่าอะไรคือการส่งออกอะไรคือการนำเข้า ถ้าร้อยละ 35 ของสิ่งที่ใช้ในการสร้างรถยนต์ถูกเพิ่มเข้าไปในการผลิตในสหรัฐฯ ร้อยละ 25 ถูกเพิ่มเข้าไปในแคนาดา ร้อยละ 25 ในเม็กซิโกและร้อยละ 15 จากประเทศอื่นๆนอกทวีปอเมริกาเหนือ จะเรียกรถยนต์ดังกล่าวว่าผลิตในประเทศใด
ข้อมูลจากทางการระบุว่า สหรัฐฯเสียดุลการค้าจีน 350 พันล้านเหรียญฯ ตัวเลขอาจจะทำให้รู้สึกว่าการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมในสหรัฐฯกำลังถึงจุดจบ ในความเป็นจริงแล้ว 350 พันล้านเหรียญฯ คือมูลค่าของสินค้าที่ถูกทำให้เสร็จสมบูรณ์ในจีนเปรียบเทียบกับสินค้าที่ถูกทำให้สำเร็จสมบูรณ์ในสหรัฐฯ และเหมือนกันทุกประเทศคือ สินค้าที่จีนส่งออกไปยังสหรัฐฯ ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนและบริการต่างๆ ที่ถูกเพิ่มเข้าไปที่มาจากทั่วโลกรวมถึงสหรัฐฯ ที่ส่งเข้าไปประกอบในประเทศจีน
บ่อยครั้งที่คนอเมริกันหลายๆ คนบอกว่าไอโฟน ผลิตในประเทศจีนโดยบริษัทอเมริกัน ในความเป็นจริงแล้วไอโฟนผลิตจากทั่วโลก เริ่มต้นในสหรัฐฯ ที่เป็นต้นกำเนิดการพัฒนาสินค้า chip ที่เป็นหัวใจของไอโฟน ผลิตจากโรงงาน semiconductor ของสหรัฐฯ ซอฟแวร์ถูกออก แบบในสหรัฐฯ เช่นกัน ความถี่ของคลื่นวิทยุถูกออกแบบโดยบริษัทที่มีฐานอยู่ในรัฐโอไฮโอ audio chip ผลิตโดยบริษัทในรัฐเท๊กซัส controller chips ผลิตโดยบริษัทในรัฐแคลิฟอร์เนีย ทั้งหมดใช้ห่วงโซ่อุปทานของตนเองที่ขยายครอบคลุมไปทั่วโลก
แก้วที่ใช้กับไอโฟนพัฒนาโดยบริษัท Corning ของสหรัฐฯแต่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน แบตเตอรี่ผลิตโดยบริษัทในเกาหลีใต้และจีน กล้องผลิตโดยบริษัท Qualcomm ที่มีฐานอยู่ในสหรัฐฯและโดยบริษัท Sony ส่วนที่เป็น compass ผลิตโดยบริษัทที่มีฐานอยู่ในประเทศญี่ปุ่นแต่มีโรงงานผลิตตั้งอยู่ในเจ็ดประเทศรวมถึงในสหรัฐฯ
gyroscope ผลิตโดยบริษัทสวิสที่มีโรงงานตั้งอยู่ใน 35 ประเทศทั่วโลก ท้ายสุดชิ้นส่วนต่างๆเหล่านี้จะถูกส่งไปยังบริษัท Foxconn และ Pegatron ที่มีฐานอยู่ในไต้หวันเพื่อส่งไปประกอบในประเทศจีนโดยส่วนใหญ่จะเป็นที่ Shenzen
ไม่มีสินค้าใดๆ รวมถึง iPhone ที่จะจบอยู่เพียงแค่ชิ้นส่วนประกอบ สินค้าทุกรายการต้องทำการตลาด สำหรับไอโฟนการตลาดหลักถูกพัฒนาโดยบริษัทสหรัฐฯที่มีสำนักงานในนครลอสแอนเจลิสและนิวยอร์ค ส่วนใหญ่ของ apps ต่างๆสำหรับไอโฟน ถูกพัฒนาโดยบริษัทซอฟแวร์ของสหรัฐฯ บริการสนับสนุนลูกค้าเป็นหน้าที่ของ call centers ที่ตั้งอยู่หลายแห่งทั่วโลกรวมถึงในสหรัฐฯที่แคลิฟอร์เนีย เท๊กซัส และอินเดียน่า
ห่วงโซ่อุปทานในปัจจุบันมีความซับซ้อนและมีขอบเขตกว้างขวางกว่าที่เคยเป็นในศตวรรษที่ 19 หรือแม้กระทั่งส่วนใหญ่ของศตวรรษที่ 20 แต่ค่ำใช้จ่ายในการขนส่งที่ถูกลง การสื่อสารทางไกลและข้อมูลข่าวสารทำให้ห่วงโซ่อุปทานของศตวรรษที่ 21 สำมารถเป็นไปได้และเป็นตัวกำหนดรูปแบบการประกอบสินค้าของโลกที่สินค้าที่ถูกผลิตเสร็จสมบูรณ์มาจากการรวมสินค้าและบริการ intermediate ที่แสวงหามาจากทั่วโลก
ที่มา: RealClear Markets: “Apple’s iPhone Supply Chains Make the Protectionist Argument More Ridiculous Than Ever”, by Allan Golombek, November 14, 2017,
smarttech.smartsme.co.th/content/1849