โรคใบจุดในทุเรียน (Leaf Spot)
เกิดจากเชื้อราหลายชนิด โดย หากเป็นเชื้อ Colletotrichum sp. ซึ่งทำให้เกิดโรคแอนแทรคโนส ใบอ่อนจะมีสีซีดคล้ายโดนน้ำร้อนลวก ส่วนขยายพันธุ์เป็นจุดดำ ๆ ส่วนใบแก่เป็นจุดกลมขอบแผลสีเข้ม และมีการขยายขนาด
โรคใบจุดแอนแทรคโนส ที่เกิดกับทุเรียน
ส่วนเชื้อรา Phomopsis sp. ทำให้เกิดเนื้อเยื่อตายบริเวณใบแก่ มีขนาดจำกัด
โรคใบจุด (Phomopsis sp.) โรคใบจุด (Phyllosticta sp.)
เชื้อรา Phyllosticta sp. ทำให้เนื้อเยื่อตายบริเวณปลายใบ และมักมีเชื้อรา Pestalotiopsis sp. ปะปนเล็กน้อย
เชื้อรา Pseudocercospora sp ทำให้เนื้อตายเป็นจุดเหลี่ยม ๆ เล็ก ๆ กระจัดกระจายบนใบ และใต้ใบมีกลุ่มสปอร์สีดำ ทำให้ใบร่วงรุนแรงได้
โรคใบจุด (Pseudocercospora sp.) ด้านหน้าใบและหลังใบ
โรคราสีชมพูในทุเรียน (Pink disease)
เกิดจากเชื้อรา Erythricium Salmonicolor กิ่งมีลักษณะคราบสีขาวแกมชมพูแห้งแข็งบนผิวเปลือก เมื่อใช้มีดถากเปลือกบริเวณที่เป็น จะพบเนื้อเยื่อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม
โรคราสีชมพู บนกิ่งทุเรียน
โรคแอนแทรคโนสทุเรียน (Anthracnose)
เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum Zibethinum ทำลายช่อดอกในระยะช่อบาน ทำให้ดอกมีสีคล้ำ เน่าดำก่อนบาน มีราสีเทาดำปกคลุมเกสร กลีบดอก ทำให้ดอกแห้ง ร่วงหล่น
โรคแอนแทรคโนส ที่ช่อดอก
โรคราแป้งทุเรียน (Powdery mildew)
เกิดจากเชื้อรา Oidium sp. มักแพร่ระบาดในช่วงที่อากาศแห้งและเย็น เข้าทำลายในระยะดอกบานและติดผลอ่อน เชื้อรามีสีขาวคล้ายฝุ่นแป้ง ปกคลุมกลีบดอกและผลอ่อน ทำให้แลดูขาวโพลน ต่อมาดอกและผลอ่อนจะร่วง ส่วนผลที่พัฒนาโตขึ้น จะมีเชื้อราสีขาวปกคลุมบาง ๆ อาจทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ทำให้ผลผิวหยาบไม่สวย รสชาติอาจเปลี่ยนแปลง และมีเปลือกหนา
โรคราแป้งที่ผล
โรคโคนเน่า รากเน่า ผลเน่า และแคงเคอร์ที่กิ่ง ในทุเรียน
เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora โดยเชื้อราจะเข้าทำลายระบบราก และโคนต้น ปรากฎจุดฉ่ำน้ำ และมักมีน้ำเยิ้มออกมา เมื่อใช้มีดถากดูจะพบว่ามีน้ำไหลทะลักออกมา เนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม หากอาการเน่าลุกลาม จะทำให้ใบร่วง โดยเริ่มจากปลายกิ่ง ในที่อากาศชื้น เชื้อราสามารถแพร่ทางลม เข้าทำลายกิ่งและผลได้ โดยมักพบเชื้อรา Lasiodiplodia sp. ร่วมด้วยเสมอ
โคนเน่า และลำต้นเน่า
เร่งการเจริญเติบโตของพืช ทำให้พืชเจริญเติบโตแข็งแรง มีภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง ด้วย ปุ๋ยน้ำ (FK-1) ปุ๋ยน้ำ เอฟเค-1 ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริมที่จำเป็น ธาตุหลัก N-P-K ช่วยเร่งการเสริมเติบโตของพืช เพิ่มความเขียว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการสังเคราะห์แสง พืชออกดอกออกผลได้ดี ผลผลิตดี ได้น้ำหนักดี และในส่วนของ ธาตุรอง และ ธาตุเสริม ที่มีใน ปุ๋ยน้ำ เอฟเค-1 จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง และสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลงให้กับพืช
ปุ๋ยน้ำเข้มข้น FK-1 บำรุงต้น เร่งการเจริญเติบโต เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
โรคของพืช ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา ใช้ IS ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและกำจัดโรคยอดไหม้ โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคราสนิม และโรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
ไอเอส ป้องกันกำจัด ยับยั้งโรครา
หนอน ป้องกัน กำจัดหนอน ยับยั้งการแพร่พันธุ์ของหนอน ป้องกันไม่ให้ลุกลาม ด้วย (AiKi-BT) ไอกี้-บีที เป็นสารชีวินทรีย์ สำหรับกำจัดหนอนโดยเฉพาะ ผลิตจากเชื้อ บีที ที่ออกฤทธิ์เพราะกับหนอน เชื้อบีทีนี้ ไม่มีผลและไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม จึงทำให้เป็นสารธรรมชาติที่ปลอดภัย ออกฤทธิ์ทำลายหนอนได้เป็นอย่างดี
ไอกี้-บีที สารกำจัดหนอน กำจัดหนอนแมลงวัน ปลอดสารพิษ
ป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้ง แมลงปากดูด เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ด้วย (MAKA) มาคา สารอัลคาลอยด์ กำจัดแมลงและเพลี้ยต่างๆ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ปลอดภัยต่อผู้ใช้